โครงงงาน ของเรา


โครงงานตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ

โดย

นักศึกษา ศูนย์การเรียนชุมชนดีสมบุญ 
กศน.เขตบางบอน



เสนอ
นางสาวภัทรนันท์  สว่างวิจิตรา
อาจารย์ที่ปรึกษา


ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เขตบางบอน

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับพื้นที่/หรือระดับประเทศ
 ด้านการใช้และอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
ประจำปี 2561
ณ  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร/
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันต์


คำนำ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองภายใต้การแนะนำปรึกษาและการดูแลของครูหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น กิจกรรมหรืองานที่เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นการคิดเป็น ทำเป็นและการแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีวิทยาศาสตร์   โดยรายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อรายงานผลและสรุปผลการทดลอง "การประดิษฐ์ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ"  ซึ่งรายงานฉบับนี้มีขั้นตอนก่อน  ระหว่าง  และหลังจากการทดลองด้วย
คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆ ท่าน หากเอกสารนี้มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และยินดีรับคำแนะนำเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป

คณะผู้จัดทำ
มิถุนายน 2561




บทคัดย่อ
กศน.เขตบางบอน มีนโยบายให้ผู้เรียนได้มีการศึกษาผ่านการทำโครงงาน ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของการใช้หลัก STEM ในการเรียนรู้แบบบูรณา ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ที่หลากหลาย และเกิดประสบการณ์จากการดำเนินการจริงด้วยตนเอง อันจะทำให้เกิดความรู้ที่คงทนถาวร และจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นแนวทางในการศึกษาแบบการทำโครงงาน นักศึกษา ศรช.ดีสมบุญ กศน.เขตบางบอน จึงได้มีความคิดในการนำความรู้ต่างๆ ที่ได้มาจากการศึกษา, การทดลองทำ มาประดิษฐ์ “การประดิษฐ์ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ” เพื่อแก้ปัญหาการมีพื้นที่พักอาศัยขนาดจำกัดในเมือง และการสิ้นเปลืองเวลาในการเดินทาง อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ราคาสินค้า และพืชผักสูงขึ้น ทำให้รายได้ที่หาได้ต่อเดือน ถูกใช้จ่ายหมดไป รวมถึงปัญหาการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว โดยประดิษฐ์เป็น ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ  ที่มีหลักการทำงานของระบบน้ำดูดจากปั้มน้ำตู้ปลา โดยการใช้ระบบแบบน้ำไหลวน สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ขนาดจำกัดได้

  

กิตติกรรมประกาศ
  ในการทำโครงงานการประดิษฐ์ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ กลุ่มข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ นางสาวภัทรนันท์ สว่างวิจิตรา ครู กศน.ตำบล กศน.เขตบางบอน ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษา ศรช.ดีสมบุญ   และนางสาวประภัสสร  ปาวะกะนันท์  ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ คอยให้คำปรึกษาให้ความสะดวกในการทำโครงงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ แนวทางในการทำโครงงานฯ 
ขอบคุณเพื่อนในกลุ่มทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนเสนอคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการทำโครงงาน ท้ายที่สุดขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อและคุณแม่ที่เป็นผู้ให้กำลังใจ รวมทั้งให้โอกาสการศึกษาอันมีค่ายิ่ง
คณะผู้จัดทำโครงงานการประดิษฐ์ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ ขอขอบพระคุณทุกท่านอย่างสูงที่ให้ การสนับสนุน เอื้อเฟื้อและให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ จนกระทั่งโครงงานการประดิษฐ์ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติสำเร็จ ลุล่วงได้ด้วยดี



สารบัญ
เรื่อง                                                                                           หน้า
คำนำ                                                                                                  
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ                                                                                     
บทที่  บทนำ                                                                  1                           
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                     1                           
วัตถุประสงค์                                                                        2 
สมมติที่ฐานของการศึกษา                                                  2 
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง                                                               
ขอบเขตในการศึกษา                                                          3
ระยะเวลาในการศึกษา                                                         3       
บทที่  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง                                               4
          1 ทฤษฎีแรงดันน้ำ                                                     4
          2 ทฤษฎีเครื่องปั้มน้ำ                                                  5
          3 ทฤษฎีการระเหย                                                      9
          4 ทฤษฎีการเจริญเติบโตของพืช                                11
บทที่  วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง                              16
          1 วัสดุ/อุปกรณ์                                                           16
          2 วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง                                    16
บทที่  4  ผลการศึกษาค้นคว้า                                           18     
บทที่  5  สรุปผลการศึกษา                                                 19
          สรุปผลการศึกษา                                                        19
          ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน                                        19
ข้อเสนอแนะ                                                                19
         ภาคผนวก                                                                             20
บรรณานุกรม                                                                       21

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ซึ่งสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร  นักศึกษา  ชุมชน  ในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกโลกาภิวัตน์  โดยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไขพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม โดยการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยการเชื่อมโยงจากโรงเรียนสู่ชุมชน  ให้ฝังรากลึกภายในตนเองอย่างยั่งยืนตลอดไป  กศน.เขตบางบอน มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปลูกฝังให้นักศึกษาน้อมนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบ STEM  EDUCATION  คือแนวทางการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ นำมาเชื่อมโยงกันไปสู่การนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการ หรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน  ซึ่งปัจจุบันนี้จากสภาพความเป็นอยู่ และพื้นที่พักอาศัยที่มีขนาดจำกัด ทำให้พื้นที่ที่เหลือเพียงเล็กน้อยบริเวณระเบียงไม่สามารถทำประโยชน์อะไรได้ อีกทั้งการใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเดินทางไป-กลับในการทำงาน ทำให้ผู้คนไม่มีเวลาในการดูแล หรือคิดที่จะปลูกพืชผักไว้รับประทานเองเพื่อลดรายจ่าย จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดความคิดที่จะใช้พื้นที่ว่างที่มีบริเวณระเบียงห้องพักอาศัยเพาะปลูกพืชผักและไม่ต้องกังวลในเรื่องการรดน้ำ จึงทำให้เกิด โครงงานตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติขึ้น
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติเป็นโครงงานที่ตระหนักต่อปัญหาการมีพื้นที่พักอาศัยขนาดจำกัดในเมือง และการสิ้นเปลืองเวลาในการเดินทาง อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ราคาสินค้า และพืชผักสูงขึ้น ทำให้รายได้ที่หาได้ต่อเดือน ถูกใช้จ่ายหมดไป รวมถึงปัญหาการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว  ทำให้คณะผู้จัดทำได้มีความคิดในการนำความรู้ต่างๆ ที่ได้มาจากการศึกษาผ่านโลกออนไลน์ และความรู้ที่ได้รับมาจากการศึกษาผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย...ในเรื่องการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดอัตโนมัติ  มาประดิษฐ์ เป็น ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติซึ่งเป็นการย่อส่วนจากโรงเรือนขนาดใหญ่ ให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถนำมาใช้งานในพื้นที่ขนาดเล็กของระเบียงอพาทเม้นท์, หรือหอพัก โดยไม่พลาดและไม่เสียเวลาในการรดน้ำ ทั้งยังได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัย และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อประดิษฐ์ ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติมาใช้งาน
2.       เพื่อใช้ปลูกพืช ผัก เพาะเห็ดไว้รับประทานเอง
3.       เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
4.       เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.       เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า
6.       เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ของครัวเรือน
7.       เพื่อฝึกทักษะอาชีพ และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้
8.       เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระเหยของน้ำที่ทำให้เกิดความชื้นในอากาศ

สมมติฐานของการศึกษา                                                                                                   
ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติสามารถใช้เพาะปลูกพืช ผัก และเห็ดได้
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- ตัวแปรต้น    คือ  
   ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ อาศัยหลักการของปั้มน้ำตู้ปลาสู่หัวฉีด                              
- ตัวแปรตาม   คือ 
  ระยะเวลาในการฉีดพ่นน้ำ  
- ตัวแปรควบคุม  คือ
    1. ขนาดของตู้เพาะเอนกประสงค์
    2. ขนาดของถาดรองน้ำ/กล่องโฟม/ถังรองน้ำ
นิยามเชิงปฏิบัติการ 
          ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติหมายถึง ตู้เพาะที่มีโครงสร้างจากท่อพีวีซีประกอบกันขึ้นมาเพื่อใช้งานในการเพาะปลูกพืช ผัก และเห็ด เพื่อใช้ทำเป็นอาหารในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการรดน้ำด้วยการพ่นน้ำของเครื่องปั้มน้ำตู้ปลาผ่านหัวฉีดน้ำ และควบคุมระยะเวลาการใช้ไฟฟ้า โดยทามเมอร์
ขอบเขตในการศึกษา
 การประดิษฐ์ ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ โดยอาศัยเครื่องปั้มน้ำตู้ปลาเป็นตัวช่วยในการฉีดน้ำ และมีการควบคุมระยะเวลาการฉีดรดน้ำด้วยทามเมอร์  โดยทดลองในพื้นที่ใช้งานขนาด  9 ตารางเมตร
ระยะเวลาในการศึกษา
              วันที่ 6 พฤษภาคม 2561  ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2561
  
บทที่  2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
    ในการจัดทำ ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติเป็นงานที่จำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักการของอุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบการศึกษาหาข้อมูล เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติโดยมีทฤษฎีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ทฤษฏีแรงดันน้ำ
2.ทฤษฎีเครื่องปั้มน้ำ
3.ทฤษฎีการระเหย
4.ทฤษฎีการเติบโตของพืช
1. ทฤษฎีแรงดันน้ำ
แรงดันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความดัน เราสามารถใช้มีดผ่าแอปเปิ้ลให้เป็นชิ้นเล็กๆได้ แต่เราไม่สามารถใช้มือผ่าแอปเปิ้ลให้เป็นชิ้นเล็กๆได้ เพราะอัตราส่วนองแรงที่ใช้ผ่าแอปเปิ้ลกับพื้นที่หน้าตัดของมือมีมาก อัตราส่วนนี้เราเรียกว่า ความดัน ความดันมีหน่วยเป็น นิวตัน / ตารางเมตร หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พาสคัล (Pa) ความดันดังกล่าวเป็นความดันที่เกิดจากของแข็ง ความดันที่เกิดจากของเหลวเรียกว่า ความดันของของเหลว และความดันที่เกิดจากก๊าซ เรียกว่า ความดันก๊าซ โดยทั่วไปเรียกว่า ความดันอากาศ ซึ่งเป็นความดันของอากาศที่อยู่รอบตัวเรานั่นเอง
ความดันอากาศ ความดันอากาศเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความดันบรรยากาศ ความดันอากาศเป็นผลของอากาศที่กดลงมาตรงบริเวณที่เราต้องการวัดความดันอากาศ เราสามารถเห็นเหตุการณ์ที่เป็นผลมาจากความดันอากาศได้มากมาย เช่น การใช้หลอดดูดน้ำจากแก้วน้ำหรือภาชนะอื่นๆ น้ำในภาชนะจะถูกแรงกดอากาศกดลงจนทำให้น้ำในภาชนะเคลื่อนที่ไปตามหลอดแล้วเข้าไปสู่ปากเราได้ ประโยชน์ของความดันอากาศ ความดันอากาศทำให้เราสามารถใช้หลอดดูดน้ำได้ การเจาะรูกระป๋องน้ำ หรือกระป๋องนม ต้องเจาะ 2 รู ในตำแหน่งตรงข้ามกันเพื่อให้อากาศดันของเหลวที่อยู่ในกระป๋องไหลออกไปได้ ความดันอากาศช่วยพยุงปีเครื่องบินให้บินในอากาศได้ เนื่องจากความดันใต้ปีกเครื่องบินและความดันบนปีกเครื่องบินที่แตกต่างกันทำให้เครื่องบินลอยขึ้นจากพื้นดินได้ จากหลักการเกิดความดัน หรือแรงดัน ทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย เช่น ในเครื่องบด ระบบไฮโดรลิก การออกแบบรองเท้านักฟุตบอลที่ต้องมีปุ่มอยู่ที่พื้นรองเท้า เพื่อลดความดันระหว่างรองเท้ากับพื้นสนามได้ดีขึ้น หรือรองเท้าสกีของนักเล่นสกีจีมีลักษณะแบน และมีพื้นที่มากทำให้เพิ่มความดันระหว่างพื้นรองเท้ากับพื้นที่มีหิมะปกคลุมการเคลื่อนไหวของนักเล่นสกี จะคล่องแคล่วและเล่นสะดวกขึ้น
ความดันของของเหลว เป็นแรงดัน หรือความดันที่เกิดจากน้ำหนักของของเหลวกดทับลงมาตรงบริเวณที่เราต้องการวัด ความดันของน้ำหากวัดในบริเวณตื้นๆหรือใกล้กับผิวน้ำ ความดันน้ำจะมีค่าน้อยกว่าบริเวณที่มีความลึกลงไปใต้ผิวน้ำมากๆ ระดับน้ำที่ตื้น เราจะสามารถลงไปว่ายน้ำหรือดำน้ำได้ โดยไม่มีอันตรายเนื่องจากความดันน้ำมีน้อย แต่หากเราดำน้ำในระดับน้ำที่ลึกเกินไป ความดันของน้ำจะกดดันเรา อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ความดันของน้ำจะทำในทุกทิศทุกทางที่น้ำล้อมรอบตัวเรา การดำน้ำในระดับน้ำลึก หรือการเดินทางในทะเลลึกจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เช่น ชุดดำน้ำที่แข็งแรงมากๆ ที่สามารถทนความดันสูงในน้ำลึกได้ การออกแบบเรือดำน้ำต้องออกแบบมาอย่างแข็งแรง และทนต่อสภาพความดันสูงในน้ำลึกได้เป็นอย่างดี ความดันของของเหลวทุกชนิดจะออกแรงกระทำกับวัตถุในทุกทิศทุกทาง ซึ่งจะแตกต่างจากความดันอากาศที่ทำในทิศทางเดียว คือ กดลงมาบริเวณนั้นหรือผิววัตถุนั้นตรงๆ
2.ทฤษฎีเครื่องปั้มน้ำ
เครื่องปั๊มน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงานจากแหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จาก ตำแหน่งหนึ่งไป ยังอีก ตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่า หรือในระยะทางที่ไกลออกไป โดยจุดเริ่มต้นของเครื่องปั๊มน้ำนี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งในช่วงเริ่มแรกมีการใช้พลังงาน ที่ได้จากมนุษย์ สัตว์ ต่อมาจึงได้ใช้พลังงานจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากลม และน้ำเป็นแหล่งต้นกำเนิด ซึ่งในช่วงแรกเพียง เพื่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรเท่านั้น 
ในปัจจุบันเครื่องปั๊มน้ำจัดเป็นอุปกรณ์เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างมาก เป็นอุปกรณ์ ที่ช่วยจัดส่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร คมนาคม อุตสาหกรรม ตลอดจนการบำบัดน้ำเสีย เพื่อรักษา สภาวะแวดล้อม ที่ดีให้กับมนุษย์ ซึ่งวิวัฒนาการของเครื่องปั๊มน้ำในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากเดิม ที่ใช้พลังงานจาก แหล่งธรรมชาติมาเป็น การใช้พลังงานจากไอน้ำ จากเครื่องยนต์ และที่นิยมกันมากคือ การใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
ประเภทของปั๊มน้ำ (Type of Pump)
ปัจจุบันมีการจัดแบ่งประเภทของปั๊มน้ำหลายรูปแบบ และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปมากมาย ดังนั้นจึงมี การจัดหมวดหมู่ออกได้เป็น 2 แบบคือ
1.       แยกตามลักษณะการเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลว หรือการไหลของของเหลวในปั๊ม ได้แก่
ก. ประเภทปั๊มแรงเหวี่ยง หรือปั๊มหอยโข่ง(Centrifugal) เพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยอาศัยแรงเหวี่ยง   หนีจุดศูนย์กลาง ปั๊มแบบนี้บางครั้งเรียกว่าแบบ Rota – dynamic
ข. ประเภทโรตารี่ (Rotary) เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลาง
ค. ประเภทลูกสูบชัก (Reciprocating)เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการอัดโดยตรงในกระบอกสูบ
ง. ประเภทพิเศษ (Special) เป็นปั๊มที่มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถจัดอยู่ในทั้งสามประเภทที่กล่าวมา
2.       แยกตามลักษณะการขับดันของเหลวในปั๊ม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
ก. ประเภททำงานโดยไม่อาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Dynamic) เป็นปั๊มประเภทอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลางและแบบพิเศษ
ข. ประเภททำงานโดยอาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Positive Displacement) คือการเคลื่อนที่ โดยอาศัยชิ้นส่วนของ เครื่องสูบ ปั๊มประเภทนี้จะรวมเอาแบบโรตารี่และแบบลูกสูบชักเข้าอยู่ในกลุ่มด้วย
นอกจากการแบ่งเป็นสองแบบตามที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจแบ่งปั๊มตามวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละชนิดด้วยเช่น ปั๊มดับเพลิง ปั๊มลม ปั๊มสูญญากาศ ปั๊มบาดาล เป็นต้น
คุณสมบัติของปั๊มแต่ละชนิด
1.       ลักษณะการทำงานของปั๊มแบบแรงเหวี่ยง
ปั๊มแบบแรงเหวี่ยงเป็นปั๊มที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อเทียบกับปั๊มแบบอื่น ๆ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง เหมาะสมกับการใช้งานหลายประเภทประกอบกับการดูแลรักษาง่าย ส่วนประกอบของเครื่อง มีใบพัดอยู่ในเสื้อ เครื่องรูปหอยโข่ง (Volute Casing) ให้พลังงานแก่ของเหลวโดยการหมุนของใบพัด ทำให้สามารถยกน้ำจาก ระดับต่ำขึ้นไปสู่ระดับสูงได้
หลักการทำงานของเครื่อง พลังงานจะเข้าสู่ปั๊มโดยผ่านเพลาซึ่งมีใบพัดติดอยู่ เมื่อใบพัดหมุนของเหลวภายในปั๊ม จะไหลจาก ส่วนกลางของใบพัดไปสู่ส่วนปลายของใบพัด (Vane) จากการกระทำของแรงเหวี่ยง จากแผ่นใบพัดนี้ จะทำให้ เฮดความดัน (Pressure Head) ของเหลวเพิ่มขึ้น เมื่อของเหลวได้รับความเร่ง จากแผ่นใบพัด ก็จะทำให้มีเฮดความเร็วสูงขึ้น ส่งผลให้ของเหลวไหลจากปลายของใบพัดเข้าสู่เสื้อปั๊มรูปหอยโข่ง แล้วออกไปสู่ทางออกของปั๊ม ในขณะเดียวกัน ก็เปลี่ยนเฮดความเร็วเป็นเฮดความดัน ดังนั้นเฮดที่ให้แก่ของเหลวต่อหนึ่งหน่วยความหนักเรียกว่า เฮดรวมของปั๊ม
2.       ลักษณะการทำงานของปั๊มแบบลูกสูบชัก
ปั๊มประเภทลูกสูบชัก (Reciprocating pump) เป็นประเภทที่เพิ่มพลังงาน ให้แก่ของเหลว โดยการเคลื่อนที่ของลูกสูบ เข้าไปอัดของเหลวให้ไหล ไปสู่ทางด้านจ่าย ปริมาตรของของเหลวที่สูบได้ ในแต่ละครั้งจะเท่ากับ ผลคูณของพื้นที่หน้าตัด ของกระบอกสูบกับช่วงชักของกระบอกสูบนั้น
การเลือกเครื่องปั้มน้ำ
การเลือกเครื่องปั๊มน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ อาคารขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาห กรรม และบ้านพักอาศัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.      การเลือกเครื่องปั๊มน้ำสำหรับอาคารขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาหกรรม   เครื่องปั๊มน้ำสำหรับอาคารขนาดใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องพิจารณาให้ละเอียด เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีเรื่องราคา และค่าบำรุงรักษา เข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบก่อนที่จะทำการเลือกเครื่องปั๊มน้ำมีดังนี้
o    ชนิดของของเหลวที่ต้องการสูบ อุณหภูมิ ความหนืด ความหนาแน่น
o    อัตราการสูบ (Flow rate)ที่ต้องการ
o    ความดัน หรือความสูงที่ต้องยกของเหลวนั้น ๆ ขึ้นไป หรือที่เรียกว่า เฮด (Head)
o    ความเร็วรอบของปั๊มที่เป็นไปได้
o    ลักษณะของระบบท่อที่มีอยู่
o    ข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนจำหน่ายเกี่ยวกับเครื่องปั๊ม
2.         การเลือกเครื่องปั๊มน้ำสำหรับบ้านพักอาศัย   เครื่องปั๊มน้ำสำหรับบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ จะเป็นชนิดสำเร็จรูป ประกอบด้วยตัวปั๊มและถังความดัน ซึ่งจะมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบที่เป็นตัวปั๊มเกาะอยู่บนถังความดัน และมีฝาครอบที่เรียกว่า "ปั๊มกระป๋อง" ตัวปั๊มจะควบคุมการทำงาน ด้วย สวิทซ์ความดัน (Pressure Switch) ซึ่งจะมีการทำงานอัตโนมัติเมื่อมีการเปิดใช้น้ำในบ้าน ความดันในท่อ จะลดลงจนถึง ค่าที่ตั้งไว้ ปั๊มก็จะทำงานจ่ายน้ำ เข้าเส้นท่อ เมื่อหยุดหรือปิดอุปกรณ์ ความดันจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงค่าที่ตั้งไว้ ปั๊มก็จะหยุด ทำงาน เครื่องปั๊มน้ำแบบนี้ มักมีขนาดให้เลือกไม่มากนัก เพราะผลิตมาเพื่อใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก ๆ จนถึงขนาดกลาง ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารขนาดใหญ่ ต้องใช้ชุดเครื่องปั๊มน้ำแบบที่จ่ายน้ำได้มาก และสามารถเลือก ความดันได้หลายระดับ ในการเลือกปั๊มน้ำใช้ในบ้านพักอาศัย ควรพิจารณาดังนี้
o    ควรเลือกปั๊มที่มีถังความดันประกอบสำเร็จเป็นชุด เพราะถังความดันจะเก็บน้ำช่วยรักษาความดันภายในท่อส่งน้ำ และมีผลให้ในขณะใช้งานปั๊มน้ำไม่ต้องทำงานตลอดเวลา จึงช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า และปั๊มน้ำจะมีอายุการใช้งานนานขึ้นด้วย
o    อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องประกอบกันมาอย่างดี มีความคงทน ไม่เป็นสนิมง่าย และมีตัวป้องกันมอเตอร์ไหม้เลือกกำลังมอเตอร์ของปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ไม่เลือกขนาดกำลังมอเตอร์ที่เล็กเกินไป เพราะจะทำให้ปั๊มทำงานบ่อย สิ้นเปลืองไฟฟ้า 
การเลือกกำลังมอเตอร์ของปั๊ม หรือการเลือกขนาดของปั๊มนั้น จะเลือกซื้อตามลักษณะการออกแบบของผู้ผลิต ซึ่งจะออกแบบตามหลักเกณฑ์ดังนี้
ก. ออกแบบตามระยะความสูงของท่อที่จะต่อจากระดับพื้นดินถึงจุดจ่ายน้ำสูงที่สุดของตัวบ้านหรืออาคาร
ข. ออกแบบตามจำนวนก๊อกน้ำที่อาจมีการเปิดใช้น้ำพร้อมกัน เช่น ซักผ้า อาบน้ำ รดต้นไม้ ล้างรถยนต์ ประกอบอาหาร ล้างจาน ฯลฯ
สูบน้ำขึ้น แต่มีอาการดังนี้
สาเหตุ อาจมาจาก
วิธีแก้ไข
มอเตอร์ทำงานไม่หยุด
สวิตซ์ความดันเสีย
ซ่อม หรือเปลี่ยนใหม่
ก๊อกน้ำปิด แต่ปั๊มทำงาน
1.ท่อดูดหรือท่อส่งรั่ว
1.ซ่อมแซม

2.น้ำรั่วจากชิ้นส่วนกันการรั่วซึม
2.เปลี่ยนใหม่

3.การปิดตัวของเช็ควาล์วไม่สนิท
3.ทำความสะอาดเช็ควาล์ว
ปั๊มทำงานบ่อยเกินไป
1. สวิตซ์ความดันเสีย
1.เช็คสวิตซ์ความดันหรือเปลี่ยนใหม่

2.อากาศในถังมีไม่เพียงพอ
2.ถ่ายน้ำออกจากถังให้หมดและทำความสะอาด หน้าสัมผัสสวิตซ์ความดัน

3.ปริมาณการใช้น้ำมากและบ่อย
3.ปิดก๊อกน้ำให้สนิท
น้ำไหลช้า
1.ท่อด้านส่งมีการอุดตัน
1.แก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

2.น้ำทางด้านสูบมีน้อยหรือไม่มี
2.ปิดปั๊มน้ำ
สูบน้ำไม่ขึ้น แต่มีอาการดังนี้
มอเตอร์ไม่ทำงาน
1.ปลั๊กไฟหลวม
1.เสียบปลั๊กให้แน่น

2.สวิตซ์หลักปิดหรือฟิวส์ขาด
2.ตรวจสอบสวิตซ์และเปลี่ยนฟิวส์

3.ขดลวดในมอเตอร์หรือสวิตซ์ความดันเสีย
3.ซ่อมมอเตอร์หรือสวิตซ์ความดันหรือเปลี่ยนใหม่

4.ปลั๊กไฟหรือสายไฟขาด
4.ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนปลั๊กไฟและสายไฟ
มอเตอร์ทำงานผิดปรกติ
1.อากาศเข้าไปในท่อดูด
1.เช็ครอยต่อของท่อและซ่อม

2.ตัวอัดอากาศอัตโนมัติเสีย
2.เปลี่ยนตัวใหม่

3.น้ำที่ใช้ล่อไม่เพียงพอ
3.ปิดเครื่องแล้วเติมน้ำล่อใหม่

4.ท่อทางดูดตัน
4.เช็คและทำความสะอาดท่อ

5.ระดับน้ำในแหล่งน้ำต่ำกว่าปลายท่อดูด
5.ติดตั้งปลายท่อดูดให้ลึกลงไปในน้ำ
มอเตอร์ทำงานมีเสียงดังผิดปรกติ มี 2 กรณี
- มอเตอร์ร้อนจัด
1.ใบพัดล็อกเกิดจากสนิมหรือทราย
1.เปิดฝาหัวปั๊มและทำความสะอาดใบพัด

2.ลูกปืนเสีย
2.เปลี่ยนใหม่
- ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง
1.ตัวเก็บประจุรั่วหรือละลาย
1.เปลี่ยนใหม่

2.แรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าพิกัดใช้งาน
2.ปรึกษาการไฟฟ้าในเขตนั้นๆ



3.ทฤษฎีการระเหย
การที่โมเลกุลของของเหลวจะระเหยได้จะต้องเป็นโมเลกุลที่อยู่บนพื้นผิว อยู่ในทิศทางที่เหมาะสม และมีพลังงานจลน์ภายในมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่จะเปลี่ยนสภาวะจากของเหลวเป็นแก๊ส เนื่องจากการระเหยจะต้องเกิดบนพื้นผิวด้านบนจึงทำให้อัตราการเกิดการระเหยจึงมีน้อย ซึ่งการที่โมเลกุลจะมีพลังงานจลน์ได้ก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของมัน กระบวนการระเหยจะเกิดเร็วขึ้นเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่สูง เมื่อโมเลกุลได้กระจายตัวออกไปกับการระเหย โมเลกุลที่เหลือจะมีพลังงานจลน์โดยเฉลี่ยลดลงเรื่อยๆ และอุณหภูมิจะลดลงตามไปด้วย ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า การเย็นลงโดยการระเหย ร่างกายมนุษย์ก็เช่นกัน ที่ใช้เหงื่อช่วยในการลดอุณหภูมิ
การระเหย (อังกฤษ: Evaporation) คือ กระบวนการที่ของเหลว น้ำเปลี่ยนสภาพโดยธรรมชาติเป็นแก๊ส โดยไม่จำเป็นต้องมีอุณหภูมิถึงจุดเดือด โดยเป็นกระบวนการตรงกันข้ามกับการควบแน่น โดยทั่วไปเราสามารถรับรู้ถึงการระเหยได้ โดยดูจากน้ำที่ค่อยๆ หายไปทีละน้อย เมื่อมันกลายตัวเป็นไอน้ำ
การระเหย (Evaporation)
การกลายเป็นไอ (Vaporization) หมายถึง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ เมื่อของเหลวได้รักพลังงานความร้อนพอที่จะทำให้โมเลกุลมีพลังงานจลน์สูงพอจนเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลได้ โมเลกุลก้อจะหลุดออกจากของเหลวกลายเป็นไอ ในทางตรงกันข้ามถ้าไอคายพลังงานความร้อนออกมา โมเลกุลก็จะมีพลังงานจลน์น้อยลง ทำให้โมเลกุลเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากขึ้น และในที่สุดจะสามารถทำให้โมเลกุลรวมกันเป็นสารในสถานะของเหลว การที่สารเปลี่ยนสถานะจากไอหรือแก็สเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น หรือการกลั่นตัว (Condensation)
 
รูปที่ 2.6 แสดงรูป การระเหยชนิดต่างๆ
การระเหย (Evaporation) หมายถึง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไออย่างช้าๆ และเกิดขึ้นเฉพาะผิวหน้าของของเหลวเท่านั้น นอกจากนั้นการระเหยยังสามารถเกิดได้ทุกๆ อุณหภูมิที่ยังมีของเหลวนั้นอยู่ เช่น น้ำสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิ 0-100๐C ที่ความดัน 1 บรรยากาศ
     
รูปที่ 2.7 แสดงรูป ทฤษฎีการระเหย
การระเหยของน้ำ(Measurement of evaporation)
ในแต่ละวันน้ำบนโลกจากแหล่งต่างๆ เช่น คู คลอง หนอง บึง แม่น้ำ และมหาสมุทร จะมีการระเหยไปในอากาศ ซึ่งการระเหยในแต่ละวันนั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาวะของอากาศในขณะนั้นเช่น ถาวันใดในเวลากลางวันทองฟาโปรงใสปราศจากเมฆบดบัง แสงอาทิตยก็จะสองผานมายังโลกไดมาก วันนั้นก็จะทําใหมีการระเหยของน้ำมากตามไปดวย หรือถาวันใดในอากาศมีความชื้นมาก การระเหยของน้ำก็จะนอยตามไปดวยเชนกัน
การใช้ทฤษฎีจลน์อธิบายปรากฏการณ์การระเหย
จากทฤษฎีจลน์ โมเลกุลของของเหลวเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และเกิดการชนกันเอง ในการชนโมเลกุลของของเหลวจะมีการถ่ายเทพลังงานให้แก่กัน ภายหลังการชน บางโมเลกุลของของเหลวจะมีพลังงานจลน์น้อยลง และบางโมเลกุลมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ถ้าโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ผิวหน้าของของเหลวหรือสารรถเคลื่อนที่มาอยู่ที่ผิวหน้าได้ และสามารคเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลก้อจะหลุดออกจากผิวหน้าของของเหลวกลายเป็นไอ ซึ่งเรียกว่า การระเหย เนื่องจากโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์สูงกลายเป็นไอ จึงทำให้พลังงานจลน์เฉลี่ยของของเหลวลดลง ของเหลวก้อจะดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาแทนที่พลังงานที่เสียไปกับโมเลกุลที่กลายเป็นไอ และการระเหยเป็นปรากฏการณ์ซึ่งเกิดขึ้นไดทั้งอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ ตัวอย่างเช่น เมื่อเทเอทิลแอลกอฮอล์ใส่มือจะรู้สึกเย็น ทั้งนี้เพราะว่าเอทิลแอลกอฮอล์มีจุดเดือดต่ำระเหยได้ง่าย จึงดูดพลังงานความร้อนจากมือเราไปช่วยในการระเหย ทำให้มือเราเย็นลง
ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหย
1. อุณหภูมิ
ที่อุณหภูมิสูง ของเหลวจะระเหยได้มาก               – ที่อุณหภูมิต่ำ ของเหลวจะระเหยได้น้อย
2. ชนิดของของเหลว
ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก จะระเหยได้ยาก จึงระเหยได้น้อย
ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย จะระเหยได้ง่าย จึงระเหยได้มาก
3. พื้นที่ผิวของของเหลว
ของเหลวที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก จะระเหยได้มาก     
ของเหลวที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสน้อย จะระเหยได้น้อย
4. ความดันบรรยากาศ
ที่ความดันบรรยากาศสูง ของเหลวจะระเหยได้ยาก จึงระเหยได้น้อย
ที่ความดันบรรยากาศต่ำ ของเหลวจะระเหยได้ง่าย จึงระเหยได้มาก
5. อากาศเหนือของเหลว
บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทหรือมีลมพัดตลอดเวลา ของเหลวจะระเหยได้มาก
บริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเทหรือไม่มีลมพัดตลอดเวลา ของเหลวจะระเหยได้น้อย
6. การคนหรือกวน เมื่อมีการคนหรือกวนของเหลวของเหลวนั้นก็จะระเหยได้เร็วขึ้น ดังนั้น ของเหลวหนึ่งๆ จะระเหยกลายเป็นไอได้เร็วขึ้นก็ต่อเมื่อ
พื้นที่ผิวของของเหลวนั้นเพิ่มขึ้น                            – ของเหลวนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ความดันของบรรยากาศเหนือของเหลวลดลง         เมื่อมีการคนหรือกวนของเหลวนั้น
อากาศเหนือของเหลวมีการถ่ายเทตลอดเวลา เพื่อป้องกันการอิ่มตัวของไอ
4.ทฤษฎีการเติบโตของพืช
ผักสวนครัว
การปลูกผักสวนครัวมีหลักดังนี้ คือ 
1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอนดังนี้
1) พรวนดิน
2) การยกแปลง
3) การปรับปรุงเนื้อดิน
4) การกำหนดหลุมปลูก 
2. การปลูกภาชนะต้องพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะ
และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความ ลึกไม่เกิน 10 ซม. คือ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดฮ่องเต้ ปวยเล้ง เป็นต้น
ความสำคัญของผักสวนครัว
2.1 ความสำคัญของผักสวนครัว
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับผักสวนครัว
2.1 ความสำคัญของผักสวนครัว
ผักเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่ง  ที่เราใช้บริโภคเป็นอาหารประจำวัน ถ้าจะรวมมูลค่าของผักที่ใช้ภายในครอบครัว รวมทั้งผักจากสวนครัว ผักที่เก็บตามริมรั้ว  ริมคูคลอง ฯลฯ  ผักที่ซื้อขายในท้องตลาด ผักที่ส่งออกไปขายต่างประเทศและส่งเข้ามาในรูปแบบต่างๆ  ทั้งรูปแบบของ  ผักสด   ผักกระป๋อง    ผักตากแห้ง เมล็ดพันธุ์ผักและอื่นๆ แล้ว ปีหนึ่งๆ ประเทศเราใช้ผักคิดเป็นเงินนับพันๆ ล้านบาท แต่ไม่สามารถจะแยกตัวเลขออกมาให้เห็นได้ชัด ยกตัวอย่างง่ายๆ  ถ้าเราบริโภคผักคิดเฉลี่ยวันละ 1 บาท  ต่อคน   ประชากรที่บริโภคผัก 40 ล้านคน ปีหนึ่งๆ เราจะใช้เป็นเงินประมาณ 14,600 ล้านบาท อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ถูกจัดออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อาหารประเภทที่ให้การเจริญเติบโต  และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย  ได้แก่   อาหารจำพวกโปรตีน (protein) ซึ่งมีมากในจำพวกไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา กุ้ง  โดยทั่วไปผักเป็นแหล่งที่ให้โปรตีนน้อยมาก ยกเว้นถั่วเหลือง และถั่วอื่นๆ
2. อาหารประเภทที่ให้พลังงานและความอบอุ่นต่อร่างกาย  คืออาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต(carbohydrate) ได้แก่ อาหารแป้ง และน้ำตาลอาหารแป้งมีมากในข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพดข้าวสาลี มันเทศ มันฝรั่ง ตลอดจนอาหารจำพวกไขมัน  และน้ำมัน  เช่น เนย น้ำมันหมู น้ำมันพืชต่างๆ  เช่น มะพร้าว ปาล์ม ถั่ว
3. อาหารประเภทเสริมสร้างให้ร่างกายเติบโตแข็งแรง  ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บมารบกวน  คืออาหารจำพวกวิตามิน (vitamin) และเกลือแร่ (mineral) อาหารประเภทนี้ส่วนมากได้จากพืช มนุษย์เราจะมีสุขภาพดี  จะต้องรับประทานอาหารทั้งสามประเภทดังกล่าวในปริมาณที่เพียงพอและได้ส่วนสัดกัน ประเทศที่พัฒนาแล้ว  คนของเขามีอาหารดีๆ บริโภค  คนของเขาโดยส่วนรวมจึงมีพัฒนาการในด้านสมองและร่างกายดีกว่าคนของเรา ซึ่งเป็นประเทศที่ยากจน   และยังมีคนที่เป็นโรคขาดแคลนอาหาร (malnutrition) อยู่อีกมากผักเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง  โดยเฉพาะในแง่ของวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อโภชนาการ (nutrition) ของมนุษย์  การเลือกบริโภคผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นประจำ ร่างกายจะได้รับวิตามินและเกลือแร่พอเพียง ตัวอย่างของผักที่ควรเลือกใช้เป็นอาหาร คือ  ผักที่มีเนื้อสีเหลือง  เช่น ฟักทอง   แครอท  มันเทศ  มันฝรั่ง  เพราะมีแคโรตีน (carotene) สูง  เมื่อเราบริโภคผักเหล่านี้สารแคโรตีนจะถูกเปลี่ยนในร่างกายของเราให้กลาย เป็นวิตามิน เอ ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย   ให้ความแข็งแรงต่อเยื่อบุต่างๆ ช่วยให้ใช้สายตาในที่มืดได้ดีขึ้น ผู้ที่ขาดวิตามิน เอ จะมีร่างกายแคระแกร็น ฟันผุ เป็นหวัดง่าย ตาอักเสบง่าย ถั่วชนิดต่างๆ มีวิตามิน บี 1 (thiamine) สูงวิตามินนี้มีบทบาทในการย่อยอาหารแป้ง และน้ำตาลให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ผู้ที่ขาดวิตามิน บี ๑มักจะเป็นโรคเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หงุดหงิดอ่อนเพลีย  และอาจเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้ ผักใบสีเขียวต่างๆ  มีวิตามิน บี 2 (riboflavin)ที่มีบทบาทในการเผาผลาญการย่อย  หรือการใช้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต  ผู้ที่ขาดวิตามิน บี 2 มักจะเป็นโรคปากนกกระจอก  ลิ้นอักเสบ เหงือกอักเสบ  โรคผิวหนังแห้งผิวลอกขนร่วง ถั่วลิสงมีวิตามิน พีพี  (vitamin PP หรือ niacin) สูง ป้องกันการเป็นโรคผิวหนังกระ ระบบประสาทพิการ มะเขือเทศ   มะเขือเปรี้ยว  มะนาว  ผักใบเขียว  มีวิตามิน ซี (ascorbic  acid) สูง  ผู้ที่ขาดวิตามินนี้จะเป็นโรคโลหิตจาง ซีดเซียว  แคระแกร็นกระดูกไม่แข็งแรง เป็นโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน และเป็นหวัดง่าย
ผักกาดและผักกินใบต่างๆ   มีแร่ธาตุสูงเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม ธาตุนี้ช่วยในการสร้างกระดูก ทำให้โครงกระดูกและฟันแข็งแรง ผู้ที่มีสุขภาพดีมักจะมีฟันแข็งแรง  นอกจากนี้ผักเหล่านี้ยังมีธาตุเหล็กสูง  ธาตุนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดโลหิตแดงผู้ที่ขาดธาตุนี้  จะเป็นโรคโลหิตจางถั่วเหลือง    มีโปรตีนหรือกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายสูง   การใช้ถั่วเหลืองในรูปต่างๆ   เช่น ถั่วงอก เต้าเจี้ยว เต้าหู้ น้ำนม  ถั่วเหลือง   ถั่วแผ่น   เนื้อเกษตร   (เนื้อเทียมที่ทำจากถั่ว)   สามารถช่วยเพิ่มอาหารโปรตีนในท้องที่ที่ขาดอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา นม และไข่ได้ถั่วอีกหลายชนิดยังอุดมไปด้วยอาหารประเภทไขมัน  และน้ำมัน (fat & oil) ด้วย ผักหลายชนิด เช่น มันเทศ มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน (vegetable corn or baby corn)  ยังสมบูรณ์ด้วยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลอีกด้วย การที่จะให้ผักยังคงคุณค่าทางอาหารสูงนั้นขึ้นอยู่กับวิธีเลือกใช้ส่วนต่างๆ ของผักตลอดจนวิธีการรักษาและปรุงอาหาร เช่น ใบกะหล่ำปลีใบนอกที่มีสีเขียวมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าใบในที่มีสีขาว   ผักกาดที่ถูกปล่อยให้เหี่ยวแห้งมีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าผักกาดที่เก็บรักษา ให้สดเสมอ ผักที่ได้รับการต้มจนสุกเปื่อย  คุณค่าทางอาหารอาจจะถูกทำลายหมดด้วยความร้อน  ดังนั้นผักสดจึงเป็นผักที่มีคุณค่า ทางอาหารสูงกว่าผักรูปอื่นๆ เช่น ผัก กระป๋อง ผักตากแห้ง นอกจากผักจะสามารถจัดสรรอาหาร  3  ประเภท คือ อาหารประเภทโปรตีนที่ให้ความเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย อาหารประเภทแป้งและน้ำตาล และไขมัน น้ำมันที่ให้พลังงาน และ ความอบอุ่นต่อร่างกาย อาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ที่เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ผักยังมีปริมาณน้ำสูง มีเซลลูโลส (cellulose) หรือกากอาหาร (fiber)ซึ่งสารนี้ช่วยเสริมกิจกรรมการย่อยอาหารและขับถ่ายของร่างกายให้เป็น ปกติ ยิ่งไปกว่านั้นผักบางชนิด เช่น พริก ความเผ็ดของพริกยังใช้เป็นเครื่องชูรส และเครื่องกระตุ้นให้เรารับประทานอาหารได้เอร็ดอร่อยขึ้น  ผักหลายชนิด ใช้สกัดทำสีย้อมอาหารให้น่ารับประทานขึ้น และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกาย เช่น ดอกอัญชันใช้สกัดสีม่วง  ใบเตยใช้สกัดสีเขียวใบไม้เป็นต้น โดยที่ประเทศเรายากจน  ผักจึงเป็นพืชประเภทหนึ่ง  ที่สามารถจะเสริมโภชนาการให้แก่คนยากจนในท้องถิ่นทุรกันดารได้  โดยเฉพาะในเรื่องของโภชนาการเด็ก  ซึ่งควรแก่ความสนใจของรัฐเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราไม่เริ่มสร้างสมองและความแข็งแรงให้แก่คนของประเทศเราตั้งแต่ เด็กแล้ว การที่จะมาสร้างเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะไม่ก่อให้เกิดพัฒนาการในด้านสมองร่าง กายและจิตใจเท่าใดตามที่กล่าวมาแล้ว  ผักมิใช่แต่จะใช้เป็นอาหารของมนุษย์เท่านั้น แต่ผักยังใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย  ดังนั้นเราอาจเปลี่ยนผักให้เป็นเนื้อสัตว์หรือ โปรตีนได้  ยิ่งไปกว่านั้นในระยะที่น้ำมันขาดแคลนแทนที่เราจะทิ้งเศษผักกองใหญ่ๆ ให้เน่าเหม็นโดยไร้ประโยชน์ เราอาจจะใช้เศษผักที่กำลังเน่าเปื่อยไปทำเป็นแก๊สชีวภาพ (biogas)  ใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันได้รูปหนึ่ง เศษผักที่เหลือจากการสลายตัวแล้วยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์  หรือปุ๋ยธรรมชาติบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ด้วย


2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับผักสวนครัว
ผักสวนครัว  หมายถึง  พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว  ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท  ดังนี้
1.  ใช้ผลเป็นอาหาร  เช่น  แตงกวา  มะเขือเทศ  พริกหวาน
2.  ใช้ใบและลำต้นเป็นอาหาร  เช่น  ผักกาดขาว  ตำลึง  ผักคะน้า  สะระแหน่
3.  ใช้ดอกเป็นอาหาร  เช่น  กะปล่ำดอก  ดอกแค  บร็อคโคลี่
4.  ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร  เช่น  หอมหัวใหญ่  แครอท  กระเทียม  ขิง
พืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค
การขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว
วิธีการขยายพันธุ์พืชผักสวนครัว  มีหลายวิธีดังนี้
1.  การเพาะเมล็ด
เป็นวิธีการนำเมล็ดพันธุ์พืชที่คัดเลือกพันธุ์แล้วมาหว่าน  โรย  หรือหยอดลงหลุมในภาชนะ  หรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้ ซึ่งก่อนที่จะเพาะเมล็ด ต้องเตรียมดินโดยดายหญ้าหรือวัชพืชให้หมด  ตากดินไว้ประมาณ 2-3 วัน  แล้วย่อยดินให้ร่วนซุย จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกผสมให้เข้ากัน  แล้วนำไปใส่ในภาชนะหรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้
วิธีเพาะเมล็ดสามารถทำได้หลายวิธี  ดังนี้
1.  เพาะเมล็ดแบบต้นเดียว
2.  เพาะเมล็ดในกระบะเพาะ
3.  เพาะเมล็ดในแปลงเพาะ
2.  การแยกหน่อหรือหัว
เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นิยมทำกันมาก เพราะจะทำให้พืชไม่กลายพันธุ์สามารถทำได้รวดเร็ว และพืชเจริญเติบโตได้ดีกว่าเพาะเมล็ด พืชสวนครัวที่ใช้หน่อหรือหัวขยายพันธุ์  เช่น  หัวหอม  กระเทียม  ขิง  ข่า  เป็นต้นการขยายพันธุ์พืชโดยการแยกหน่อหรือหัว  เป็นวิธีการนำหน่อหรือหัวของพืชที่คัดเลือกแล้ว  มาปลูกลงในภาชนะหรือแปลงเพาะที่เตรียมดินไว้  จากนั้นกลบดินและกดให้แน่น  รดน้ำให้ชื้นเพื่อให้พืชแทงหน่อได้ง่าย เมื่อแยกหน่อหรือหัวเสร็จแล้ว  ก็มาถึงขั้นตอนการปลูก  ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี  ดังนี้
1.  ปลูกแบบต้นเดียว
2.  ปลูกในกระบะเพาะ
3.  ปลูกในแปลงเพาะ
การปลูกพืชผักสวนครัว
เมื่อพืชผักสวนครัวที่ปลูกเติบโตขึ้นสักระยะ  เราจะต้องทำการย้ายต้นกล้าของพืชผักสวนครัวจากภาชนะ  กระบะเพาะ  หรือแปลงเพาะ  มาสู่แปลงปลูก  เพื่อให้พืชผักสวนครัวเจริญเติบโตต่อไป
การย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูก  มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.  เตรียมดินในแปลงปลูก  และขุดหลุมให้ลึกพอสมควร
2.  ใช้ช้อนปลูกขุดย้ายต้นกล้า  โดยมีดินติดรากมาด้วย
3.  จับปลายใบของต้นกล้าหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้  แล้วเกลี่ยดินกลบ  จากนั้นกดดินรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น
4.  รดน้ำให้ชุ่มทั้งแปลง  และทำเพิงบังแดดจนกว่าต้นกล้าจะแข็งแรง


บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง
1. วัสดุ/อุปกรณ์
1.         ท่อ PVC อย่างหนา ขนาด 6 หุน 3 เส้น
2.         ท่อ PVC ขนาด 5 หุน ยาว 1 เมตร 1 เส้น
3.         ข้อต่อท่อ PVC 3 ทางอย่างหนา   8 ตัว
4.         ข้อต่อท่อ PVC 4 ทางอย่างหนา   8 ตัว
5.         แผ่นพลาสติก          4 แผ่น
6.         ตาข่ายพลาสติก       1 แผ่น
7.         ทามเมอร์( timer )  1 ตัว
8.         กล่องโฟมสี่เหลี่ยมผืนผ้า     1  ใบ
9.         กาวสองหน้า  1 ม้วน
10.     ก้อนเชื้อเห็ดนางรมฮังการี      10   ก้อน
11.     ตลับเมตร 
12.     ดินสอ
13.     คีมตัดท่อ
14.     คัตเตอร์
15.     กรรไกร
16.     เคเบิ้ลไทร์       1 ถุง
17.     กระดาษทราย

2. วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง
1. นักศึกษา ศูนย์การเรียนชุมชนดีสมบุญ ประชุมเสนอแนวความคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน
2. ตัวแทนนักศึกษา เขียนเค้าโครงงาน เรื่อง ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติและนำเสนอครูที่ปรึกษา
3. แบ่งหน้าที่สมาชิกค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4. ออกแบบเค้าโครง ตัดท่อ PVC อย่างหนา ขนาด 6 หุน ดังนี้
1.       ท่อนละ 52 cm. จำนวน 14 ท่อน
2.       ท่อนละ  20 cm. จำนวน 4 ท่อน    (เพื่อนำไปต่อระยะตามต้องการ)
3.       เชื่อมต่อท่อ PVC ทั้งหมดให้เป็นโครงสร้างสี่เหลี่ยม (ภาพที่ 3.1)
4.       นำสายยางน้ำมาต่อกับเครื่องปั้มน้ำตู้ปลา แล้วลดขนาดสายยางน้ำให้เล็กลงด้วยข้อต่อลด
5.       แยกทางน้ำออกด้วยตัวแยก 3 ทาง ต่อปลายสายกับหัวฉีด (ภาพที่ 3.2)
6.       รัดสายยางน้ำกับโครงสร้างตู้ด้วยเคเบิ้ลไทร์ (ภาพที่ 3.3)
7.       นำแผ่นตาข่ายพลาสติกมาหุ้มด้านหลังเป็นแผงกั้น  (ภาพที่ 3.4)
8.       นำแผ่นพลาสติกมาหุ้มให้เป็นห้องเปิดฝาด้านหน้า (ภาพที่ 3.5)
9.       เสียบปลั๊กเครื่องปั้มน้ำตู้ปลากับไทม์เมอร์ ตั้งค่าเวลาให้ปั้มน้ำรด ทุก 5 ชั่วโมง (แล้วแต่ฤดูกาลและความต้องการน้ำของพืชที่เพาะ  (ภาพที่ 3.6)
10.     ทดสอบระยะการฉีดน้ำ ปรับตั้งให้ตรงกับความต้องการของพืช  (ภาพที่ 3.7)
11.     เก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย ตกแต่งให้สวยงาม
13. บันทึกขั้นตอนการทำงาน
14. จัดทำรายงานโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา



บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า
               จากการศึกษาการสร้าง ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ  ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ ผู้จัดทำได้รับความรู้ดังนี้
1.       ได้ฝึกทักษะอาชีพ และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้
2.       ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับแรงดันน้ำ
3.       ได้ศึกษาวิธีการเพาะปลูก พืช ผัก และเห็ด
4.       รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.       ส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
6.       รู้วิธีการสร้างตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ
7.       ได้แนวทางการลดรายจ่ายภายในครัวเรือน




บทที่  5
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
จากการทำโครงงานตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้คือ เพื่อประดิษฐ์ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติที่สามารถใช้งานได้จริง และประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แบบ STEM  EDUCATION  และทำให้ตระหนักได้ว่า การประหยัดพลังงานเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบัน เรามีวิธีที่จะประหยัดพลังงานหลากหลายวิธี และ การทำ ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งสามารถทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพราะใช้ไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยต่อวัน, ประหยัดแรงงานในการรดน้ำ อีกทั้งยังสร้างรายได้ลดรายจ่ายในชีวิตประจำวันเราได้ด้วย
ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน                                                                                        
จากการศึกษาสามารถศึกษาความเป็นมาและหลักการทำงานของเครื่องปั้มน้ำตู้ปลาที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป จนนำมาสู่การประดิษฐ์ชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้งานได้เหมือนกับโรงเรือนที่ใช้เครื่องปั้มน้ำขนาดใหญ่ และใช้งานได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดทางอาชีพได้ในอนาคต
ข้อเสนอแนะ                                                                                                        
ในการทำการประดิษฐ์สิ่งของควรเลือกวัสดุ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความคงทนของวัสดุที่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับระบบน้ำ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการประดิษฐ์ในแต่ละขั้นตอน






ภาคผนวก
       
      
ภาพ 4.2 ดำเนินการประดิษฐ์ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ


      
     
ภาพ 4.3  ตู้เพาะรดน้ำอัตโนมัติ

บรรณานุกรม
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2362203100/14.htm
ทฤษฎีเครื่องปั้มน้ำ
https://www.novabizz.com/CDC/System/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%8A%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3.htm
ทฤษฎีการระเหย
https://sulichaminmin2554.wordpress.com/tag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2/
ทฤษฎีการเติบโตของพืช
https://sites.google.com/site/pukkypookie1234/hlak-kar-laea-thvsdi-thi-keiywkhxng




โครงงานตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน

โดย

นักศึกษา ศูนย์การเรียนชุมชนดีสมบุญ 
กศน.เขตบางบอน



เสนอ

นางสาวภัทรนันท์  สว่างวิจิตรา
อาจารย์ที่ปรึกษา


ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
สำหรับนักศึกษา กศน. ระดับพื้นที่/หรือระดับประเทศ
 ด้านการใช้และอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
ประจำปี 2561
ณ  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร/
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันต์

คำนำ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองภายใต้การแนะนำปรึกษาและการดูแลของครูหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น กิจกรรมหรืองานที่เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์  เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นการคิดเป็น  ทำเป็นและการแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีวิทยาศาสตร์   โดยรายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อรายงานผลและสรุปผลการทดลอง "การประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน"  ซึ่งรายงานฉบับนี้มีขั้นตอนก่อน  ระหว่าง  และหลังจากการทดลองด้วย
คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆ ท่าน หากเอกสารนี้มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และยินดีรับคำแนะนำเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป

คณะผู้จัดทำ
มิถุนายน 2561

  
  
บทคัดย่อ
กศน.เขตบางบอน มีนโยบายให้ผู้เรียนได้มีการศึกษาผ่านการทำโครงงาน ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของการใช้หลัก STEM ในการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ที่หลากหลาย และเกิดประสบการณ์จากการดำเนินการจริงด้วยตนเอง อันจะทำให้เกิดความรู้ที่คงทนถาวร และจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นแนวทางในการศึกษาแบบการทำโครงงาน นักศึกษา ศรช.ดีสมบุญ กศน.เขตบางบอน จึงได้มีความคิดในการนำความรู้ต่างๆ ที่ได้มาจากการศึกษา, การทดลองทำ มาประดิษฐ์ “การประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน” เพื่อนำมาใช้ในการลดอุณหภูมิในส่วนที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ของ ศรช.ดีสมบุญ  กศน.เขตบางบอน เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย การประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทั้งยังได้ความรู้จากการศึกษาเกี่ยวกับการระเหย และหลักการของน้ำวน  โดยดำเนินการศึกษาจากการนำเครื่องปรับอากาศเก่าของรถยนต์มาศึกษาและหาวิธีการเพื่อนำชิ้นส่วนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยประดิษฐ์เป็นตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน ที่มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องปรับอากาศ โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักในการทำงาน รวมกันกับพัดลม และระบบน้ำดูดจากปั้มน้ำตู้ปลา โดยการใช้ระบบแบบน้ำไหลวน ลักษณะการทำงานใช้หลักการคล้ายกับพัดลมไอเย็นที่มีจำหน่ายในท้องตลาด แต่ต้นทุนในการผลิตต่ำ ประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมาะกับการใช้งานทุกสภาพ ไม่สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็น และไออุ่นได้


 กิตติกรรมประกาศ
ในการทำโครงงานการประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงานกลุ่มข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ นางสาวภัทรนันท์ สว่างวิจิตรา ครู กศน.ตำบล กศน.เขตบางบอน ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษา ศรช.ดีสมบุญ และนายวรากรณ์ เมฆสุวรรณ ศิษย์เก่ารุ่นพี่ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ คอยให้คำปรึกษาให้ความสะดวกในการทำโครงงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ แนวทางในการทำโครงงานฯ
ขอบคุณเพื่อนในกลุ่มทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนเสนอคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการทำโครงงาน ท้ายที่สุดขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อและคุณแม่ที่เป็นผู้ให้กำลังใจ รวมทั้งให้โอกาสการศึกษาอันมีค่ายิ่ง
คณะผู้จัดทำโครงงานการประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน ขอขอบพระคุณทุกท่านอย่างสูงที่ให้ การสนับสนุน เอื้อเฟื้อและให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ จนกระทั่งโครงงานการประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงานสำเร็จ ลุล่วงได้ด้วยดี






สารบัญ
เรื่อง                                                                                           หน้า
คำนำ                                                                                                  
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ                                                                                     
บทที่  บทนำ                                                                              1             
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                 1               
วัตถุประสงค์                                                                                   2       
          สมมติที่ฐานของการศึกษา                                                   2       
          ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง                                                                2       
          นิยามเชิงปฏิบัติการ                                                              2       
          ขอบเขตในการศึกษา                                                           3
          ระยะเวลาในการศึกษา                                                         3       
บทที่  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง                                                         4
          1 ทฤษฎีแรงดันน้ำ                                                               4
          2 ทฤษฎีเครื่องปั้มน้ำ                                                           5
          3 ทฤษฎีการระเหย                                                              9
          4 ทฤษฎีพัดลม                                                                    11
บทที่  วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง                                       16
          1 วัสดุ/อุปกรณ์                                                                    16
          2 วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง                                            16
บทที่  4  ผลการศึกษาค้นคว้า                                                   18     
บทที่  5  สรุปผลการศึกษา                                                        19
          สรุปผลการศึกษา                                                               19
          ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน                                               19
ข้อเสนอแนะ                                                                       19

บรรณานุกรม                                                                             20


บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ซึ่งสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร  นักศึกษา  ชุมชน  ในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกโลกาภิวัตน์  โดยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไขพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม โดยการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยการเชื่อมโยงจากโรงเรียนสู่ชุมชน  ให้ฝังรากลึกภายในตนเองอย่างยั่งยืนตลอดไป  กศน.เขตบางบอน มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปลูกฝังให้นักศึกษาน้อมนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบ STEM  EDUCATION  คือแนวทางการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ นำมาเชื่อมโยงกันไปสู่การนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการ หรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน  ซึ่งปัจจุบันนี้จากสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนเพิ่มขึ้นทำให้มีผู้ใช้พัดลมปรับอากาศ ที่สามารถสร้างความเย็นในอากาศ  จำนวนมากขึ้น และพัดลมปรับอากาศที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันก็มีราคาที่ค่อนข้างสูงพอสมควร ทั้งยังใช้ปริมาณไฟค่อนข้างมาก อีกทั้งเมื่อถึงหน้าหนาวที่ต้องการความอบอุ่นก็ไม่สามารถทำความร้อนได้ ต้องซื้อเครื่องทำไออุ่นต่างหาก  นักศึกษา กศน.เขตบางบอนจึงมีแนวคิดว่า ถ้าใช้อุปกรณ์บางอย่างจากรถยนต์ก็น่าจะสามารถสร้างอุณหภูมิให้แตกต่างได้ทั้งไอเย็น และไอร้อน ที่สำคัญสามารถนำไปใช้ที่อื่นๆ ได้ เพราะใช้เพียงไฟจากแบตเตอร์รี่รถยนต์ และเมื่อต้องการต่อใช้กับไฟฟ้าในบ้าน ก็สามารถใช้ผ่าน Adapter ซึ่งใช้ปริมาณไฟน้อยกว่าปกติได้เช่นกัน จากความคิดนี้ทำให้เกิด โครงงานตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงานขึ้น
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน เป็นโครงงานที่ตระหนักต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน แม้มนุษย์มิอาจหลีกเลี่ยงการใช้พลังงาน แต่เรามีความคิดว่าการใช้พลังงานให้น้อยลงก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยทุเลาปัญหาที่กล่าวมาแล้ว จากที่ปัจจุบันนี้รถยนต์ที่มีเครื่องปรับอากาศถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และบางครั้งก็มีการปรับเปลี่ยนระบบของเครื่องปรับอากาศภายในรถยนต์  ผลกระทบที่ตามมาคือเครื่องปรับอากาศเก่าของรถยนต์กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นปัญหาที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ หากปล่อยให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ จะยิ่งส่งผลต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด  ทำให้คณะผู้จัดทำได้คิดดัดแปลงนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องปรับอากาศเก่าของรถยนต์มาศึกษาและหาวิธีการเพื่อนำชิ้นส่วนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยประดิษฐ์เป็น ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน ที่มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องปรับอากาศ โดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักในการทำงาน รวมกันกับพัดลม และระบบน้ำดูดจากปั้มน้ำตู้ปลา โดยการใช้ระบบแบบน้ำไหลวน ลักษณะการทำงานใช้หลักการคล้ายกับพัดลมไอเย็นที่มีจำหน่ายในท้องตลาด แต่ต้นทุนในการผลิตต่ำ ประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมาะกับการใช้งานทุกสภาพ ไม่สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็น และไออุ่นได้
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อประดิษฐ์ ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน มาใช้งาน
2.       เพื่อใช้ทดแทนการเปิด เครื่องปรับอากาศ หรือ เครื่องทำไออุ่น
3.       เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบพอเพียง
4.       เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.       เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า
6.       เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ของครัวเรือน
7.       เพื่อฝึกทักษะอาชีพ และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมในอนาคตได้
8.       เพื่อศึกษาเกี่ยวกับละเหยของน้ำที่ทำให้เกิดความเย็นหรือความร้อนได้

สมมติฐานของการศึกษา                                                                                                    
ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน สามารถผลิตไอเย็น และไออุ่นได้  โดยใช้อุณหภูมิของน้ำเป็นตัวกำหนด  และหลักการปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- ตัวแปรต้น    คือ  
   ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน อาศัยหลักการกระจายอุณหภูมิโดยใช้น้ำเป็นหลัก                                                                                                                             
- ตัวแปรตาม   คือ 
  ประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการปรับอุณหภูมิให้ลดลง หรือเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิห้องปกติ
- ตัวแปรควบคุม  คือ
    1. ขนาดของตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน
    2. ขนาดของพื้นที่ใช้งาน 9 ตารางเมตร
นิยามเชิงปฏิบัติการ 
          ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทพัดลมแต่เป็นนวัตกรรมใหม่จากการดัดแปลงเศษขยะอีเล็กทรอนิกส์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยอาศัยน้ำ และหลักการปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน   
         ความเย็น หมายถึง การทำความของ ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน  ในเวลา 1 ชั่วโมงที่ทำให้อุณหภูมิห้องเกิดการเปลี่ยนแปลง ในพื้นที่ห้องขนาด 9 ตารางเมตร
ขอบเขตในการศึกษา
 การประดิษฐ์ ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน  โดยอาศัยน้ำเป็นตัวช่วยในการกระจายอุณหภูมิ  โดยทดลองในพื้นที่ใช้งานขนาด  9 ตารางเมตร
ระยะเวลาในการศึกษา
              วันที่ 6 พฤษภาคม 2561  ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2561



บทที่  2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
    ในการจัดทำ ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน เป็นงานที่จำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักการของอุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบการศึกษาหาข้อมูล เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน โดยมีทฤษฎีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฏีพัดลม
2. ทฤษฎีหม้อแปลงไฟฟ้า
3. ทฤษฎีเหล็ก
4. ทฤษฎีน้ำ
5. ทฤษฎีแบตเตอรี่แห้ง
1. ทฤษฎีพัดลม
1.1.ประเภทของพัดลม
พัดลมแบ่งออกเป็น3ประเภทคือพัดลมตั้งโต๊ะ พัดลมตั้งพื้นพัดลมติดผนังซึ่งทั้งหมดมีหลักการของการทำงานคล้ายคลึงกันส่วนประกอบหลักของของพัดลมแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือใบพัดและตะแกรงคลุมใบพัดมอเตอร์ไฟฟ้าสวิตช์ควบคุม
1.2.การทำงานของพัดลม
การทำงานและกลไกที่ทำให้พัดลมหยุดกับที่หรือหมุนส่ายไปมาพัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือเร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการกระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุนใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดเป็นลมพัดออกมาพัดลมตั้งโต๊ะจะมีราคาต่ำกวาพัดลมตั้งพื้นและใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าทั้งนี้เพราะมีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟฟ้าต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมแรงมากกว่า
1.3.การใช้งานของพัดลม
1.อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้โดยเฉพาะพัดลมที่มีรีโมทคอนโทรลเพราะจะมีไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลาเพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2.ควรเลือกใช้ความแรงและความเร็วของลมให้เหมาะกับความต้องการและสถานที่เพราะ หากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
3.เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมก็ควรรีบปิดเพื่อให้มอเตอร์ได้พักและไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป
4.ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกเพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจากับบริเวณรอบๆทางด้านหลังของใบพัดแล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้าเช่นถ้าอากาศบริเวณรอบพัดลมร้อนอับชื้นก็จะได้ลมในลักษณะร้อนอับชื้นเช่นกนนอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความร้อนได้ดีขึ้นไม่ เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
1.4.การดูแลรักษาพัดลม
การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้พัดลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและยังช่วยยืดอายุการทำงานให้ยาวนานขึ้นโดยมีวิธีการดังนี้
1.หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งใบพัดและตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับและต้องดูแลให้มีประสิทธิภาพดีอยู่เสมออย่าให้แตกหักหรือชำรุดหรือโค้งงอผิดส่วนจะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง
2.หมันทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลมซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลงและสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
2.ทฤษฎีหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)
2.1 ความหมายของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับจากวงจรหนึ่งไปยังอีกวงจรหนึ่งโดยวิธีทางวงจรแม่เหล็กซึ่งไม่มีจุดต่อไฟฟ้าถึงกนและไม่มีชิ้นส่วนทางกลเคลื่อนที่โดยทั่วไปเราใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้มีขนาดลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมโดยมีความถี่ไฟฟ้าคงเดิม
2.2 โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงแบ่งออกตามการใช้งานของระบบไฟฟ้ากำลังได้ 2 แบบคือ หม้อแปลงไฟฟ้า  ชนิด 1 เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 3 เฟสแต่ละชนิดมีโครงสร้างสำคัญประกอบด้วย
1. ขดลวดตัวนำปฐมภูมิ (Primary Winding) ทําหน้าที่รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า
2. ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ทําหน้าที่จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า
3. แผนแกนเหล็ก (Core) ทําหน้าที่เป็นทางเดินสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและให้ขดลวดพันรอบแกนเหล็ก
4. ขั้วต่อสายไฟ (Terminal) ทําหน้าที่เป็นจุดต่อสายไฟกบขดลวด
5. แผ่นป้าย (Name Plate) ทําหน้าที่บอกรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง
6. อุปกรณ์ระบายความร้อน (Coolant) ทําหน้าที่ระบายความร้อนให้กบขดลวด เช่น อากาศ, พัดลม, น้ำมัน หรือใช้ทั้งพัดลมและน้ำมันช่วยระบายความร้อน เป็นต้น
7. โครง (Frame) หรือตัวถังของหม้อแปลง (Tank) ทําหน้าที่บรรจุขดลวด แกนเหล็ก รวมทั้งการติดตั้งระบบระบายความร้อนให้กบหม้อแปลงขนาดใหญ่
8. สวิตช์และอุปกรณ์ควบคุม (Switch Controller) ทําหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า และมีอุปกรณ์ป้องกนไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย
2.3.หลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า
รูปที่ 2.1 แสดง คำอธิบายหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า
สัญลักษณ์ในสมการ (1-4)
E : แรงเคลื่อนไฟฟ้าจากแหล่งไฟสลับ (โวลต์)         R : โหลดตัวต้านทาน (โอห์ม)
V : แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (โวลต์)                 I : กระแสไฟฟ้า (แอมป์ )
N : จำนวนรอบของขดลวด (รอบ)                     f : ความถี่ (รอบต่อวินาที)
A : พื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็ก (ตารางเมตร)         t : เวลา (วินาที)
P : ปฐมภูมิ (Primary)                                 S : ทุติยภูมิ (Secondary)

 : อัตราการเปลี่ยนแปลงจากความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กต่อเวลา

      B : ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก (เวเบอร์ต่อตารางเมตร)

กฎของฟาราเดย์ (Faraday’s Law) กล่าวไว้ว่า เมื่อขดลวดได้รับแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ จะทําให้ขดลวดมีการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กตามขนาดของรูปคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับ และทําให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นที่ขดลวด
คำอธิบาย 1 : เมื่อขดลวดปฐมภูมิได้รับแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ จะทําให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นตามกฎของฟาราเดย์ ขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดลวด พื้นที่แกนเหล็ก และความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงจากไฟฟ้ากระแสสลับ โดยเขียนในรูปคณิตศาสตร์ได้ คือ
ข้อสังเกต เครื่องหมายลบ แสดงให้เห็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำมีทิศทางตรงข้ามกับเส้น แรงแม่เหล็ก
คำอธิบาย 2 : เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดจะทําให้มีเส้นแรงแม่เหล็กในขดลวด เส้นแรงแม่เหล็กนี้เปลี่ยนแปลงตามขนาดของรูปคลื่นไฟฟ้าที่ได้รับ
คำอธิบาย 3 : เส้นแรงแม่เหล็กเกือบทั้งหมดจะอยู่รอบแกนเหล็ก
คำอธิบาย 4 : เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นแรงแม่เหล็กผ่านขดลวด จะทําให้มีแรง เคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นที่ขดลวดทุติยภูมิ และเขียนในรูปคณิตศาสตร์ ได้คือ
ความสัมพันธ์ของแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และจำนวนรอบของขดลวดทั้งด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิของหม้อแปลงตามอุดมคติ (Ideal Transformer : ไม่รวมการสูญเสียของขดลวดและ
แกนเหล็ก) สามารถหาได้จาก
ความสัมพันธ์ของแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความถี่ จำนวนรอบของขดลวด พื้นที่แกนเหล็ก และความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก (ไม่รวมการสูญเสียของเส้นแรงแม่เหล็กและแกนของหม้อแปลง) หาได้จาก
2.4. ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าจำแนกชนิดตามขนาดกาลังไฟฟ้ามีดังนี้
1. ขนาดเล็กจนถึง 1 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กบการเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณในงานอิเล็กทรอนิกส์
2. ขนาด 1-1000 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับงานด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก
3. ขนาด 1 kVA -1 MVA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กบงานจำหน่ายไฟฟ้าในโรงงาน สำนักงาน ที่พักอาศัย
4. ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 MVA ขึ้นไป เป็นหม้อแปลงที่ใช้กบงานระบบไฟฟ้ากำลัง ในสถานีไฟฟ้าย่อย การผลิตและจ่ายไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าจำแนกชนิดตามจำนวนรอบของขดลวดได้ดังนี้
1. หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพิ่ม (Step-Up) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบมากกว่าขดลวดปฐมภูมิ
2. หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าลง (Step-Down) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบน้อยกว่าปฐมภูมิ
3. หม้อแปลงที่มีแทปแยก (Tap) ทําให้มีขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้หลายระดับ

รูปที่ 2.2 แสดงรูป หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแทป
4. หม้อแปลงที่ใช้สำหรับแยกวงจรไฟฟ้าออกจากกัน (Isolating) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบเท่ากันกับขดลวดปฐมภูมิหรือมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากันทั้งสองด้าน
รูปที่ 2.3 แสดงรูป หม้อแปลงไฟฟ้าแยกสายกราวด์ ออกจากระบบไฟฟ้า
5. หม้อแปลงแบบปรับเลื่อนค่าได้ (Variable) ขดลวดทุติยภูมิและปฐมภูมิจะเป็นขดลวดขดเดียวกัน หรือเรียกว่าหม้อแปลงออโต้(Autotransformer)ดูรูปที่15(ก)มักใช้กับการปรับขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้าตามต้องการ และสำหรับวาไรแอค(Variac)นั้นเป็นชื่อเรียกทางการค้าของหม้อแปลงออโต้ที่สามารถปรับค่าได้ด้วยการเลื่อนแทปขดลวด

รูปที่ 2.4 แสดงรูป หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับเลื่อนค่าได้หรือหม้อแปลงออโต้


รูปที่ 2.5 แสดงรูป ลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดต่างๆ
ทฤษฎี
การที่โมเลกุลของของเหลวจะระเหยได้จะต้องเป็นโมเลกุลที่อยู่บนพื้นผิว อยู่ในทิศทางที่เหมาะสม และมีพลังงานจลน์ภายในมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่จะเปลี่ยนสภาวะจากของเหลวเป็นแก๊ส เนื่องจากการระเหยจะต้องเกิดบนพื้นผิวด้านบนจึงทำให้อัตราการเกิดการระเหยจึงมีน้อย ซึ่งการที่โมเลกุลจะมีพลังงานจลน์ได้ก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของมัน กระบวนการระเหยจะเกิดเร็วขึ้นเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่สูง เมื่อโมเลกุลได้กระจายตัวออกไปกับการระเหย โมเลกุลที่เหลือจะมีพลังงานจลน์โดยเฉลี่ยลดลงเรื่อยๆ และอุณหภูมิจะลดลงตามไปด้วย ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า การเย็นลงโดยการระเหย ร่างกายมนุษย์ก็เช่นกัน ที่ใช้เหงื่อช่วยในการลดอุณหภูมิ
การระเหย (อังกฤษ: Evaporation) คือ กระบวนการที่ของเหลว น้ำเปลี่ยนสภาพโดยธรรมชาติเป็นแก๊ส โดยไม่จำเป็นต้องมีอุณหภูมิถึงจุดเดือด โดยเป็นกระบวนการตรงกันข้ามกับการควบแน่น โดยทั่วไปเราสามารถรับรู้ถึงการระเหยได้ โดยดูจากน้ำที่ค่อยๆ หายไปทีละน้อย เมื่อมันกลายตัวเป็นไอน้ำ
การระเหย (Evaporation)
การกลายเป็นไอ (Vaporization) หมายถึง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ เมื่อของเหลวได้รักพลังงานความร้อนพอที่จะทำให้โมเลกุลมีพลังงานจลน์สูงพอจนเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลได้ โมเลกุลก้อจะหลุดออกจากของเหลวกลายเป็นไอ ในทางตรงกันข้ามถ้าไอคายพลังงานความร้อนออกมา โมเลกุลก็จะมีพลังงานจลน์น้อยลง ทำให้โมเลกุลเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากขึ้น และในที่สุดจะสามารถทำให้โมเลกุลรวมกันเป็นสารในสถานะของเหลว การที่สารเปลี่ยนสถานะจากไอหรือแก็สเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น หรือการกลั่นตัว (Condensation)

รูปที่ 2.6 แสดงรูป การระเหยชนิดต่างๆ
การระเหย (Evaporation) หมายถึง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไออย่างช้าๆ และเกิดขึ้นเฉพาะผิวหน้าของของเหลวเท่านั้น นอกจากนั้นการระเหยยังสามารถเกิดได้ทุกๆ อุณหภูมิที่ยังมีของเหลวนั้นอยู่ เช่น น้ำสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิ 0-100๐C ที่ความดัน 1 บรรยากาศ
    
รูปที่ 2.7 แสดงรูป ทฤษฎีการระเหย
การระเหยของน้ำ(Measurement of evaporation)
ในแต่ละวันน้ำบนโลกจากแหล่งต่างๆ เช่น คู คลอง หนอง บึง แม่น้ำ และมหาสมุทร จะมีการระเหยไปในอากาศ ซึ่งการระเหยในแต่ละวันนั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาวะของอากาศในขณะนั้นเช่น ถาวันใดในเวลากลางวันทองฟาโปรงใสปราศจากเมฆบดบัง แสงอาทิตยก็จะสองผานมายังโลกไดมาก วันนั้นก็จะทําใหมีการระเหยของน้ำมากตามไปดวย หรือถาวันใดในอากาศมีความชื้นมาก การระเหยของน้ำก็จะนอยตามไปดวยเชนกัน
การใช้ทฤษฎีจลน์อธิบายปรากฏการณ์การระเหย
จากทฤษฎีจลน์ โมเลกุลของของเหลวเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และเกิดการชนกันเอง ในการชนโมเลกุลของของเหลวจะมีการถ่ายเทพลังงานให้แก่กัน ภายหลังการชน บางโมเลกุลของของเหลวจะมีพลังงานจลน์น้อยลง และบางโมเลกุลมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ถ้าโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ผิวหน้าของของเหลวหรือสารรถเคลื่อนที่มาอยู่ที่ผิวหน้าได้ และสามารคเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลก้อจะหลุดออกจากผิวหน้าของของเหลวกลายเป็นไอ ซึ่งเรียกว่า การระเหย เนื่องจากโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์สูงกลายเป็นไอ จึงทำให้พลังงานจลน์เฉลี่ยของของเหลวลดลง ของเหลวก้อจะดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาแทนที่พลังงานที่เสียไปกับโมเลกุลที่กลายเป็นไอ และการระเหยเป็นปรากฏการณ์ซึ่งเกิดขึ้นไดทั้งอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ ตัวอย่างเช่น เมื่อเทเอทิลแอลกอฮอล์ใส่มือจะรู้สึกเย็น ทั้งนี้เพราะว่าเอทิลแอลกอฮอล์มีจุดเดือดต่ำระเหยได้ง่าย จึงดูดพลังงานความร้อนจากมือเราไปช่วยในการระเหย ทำให้มือเราเย็นลง
ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหย
1. อุณหภูมิ
ที่อุณหภูมิสูง ของเหลวจะระเหยได้มาก              
ที่อุณหภูมิต่ำ ของเหลวจะระเหยได้น้อย
2. ชนิดของของเหลว
ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก จะระเหยได้ยาก จึงระเหยได้น้อย
ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย จะระเหยได้ง่าย จึงระเหยได้มาก
3. พื้นที่ผิวของของเหลว
ของเหลวที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก จะระเหยได้มาก     
ของเหลวที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสน้อย จะระเหยได้น้อย
4. ความดันบรรยากาศ
ที่ความดันบรรยากาศสูง ของเหลวจะระเหยได้ยาก จึงระเหยได้น้อย
ที่ความดันบรรยากาศต่ำ ของเหลวจะระเหยได้ง่าย จึงระเหยได้มาก
5. อากาศเหนือของเหลว
บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทหรือมีลมพัดตลอดเวลา ของเหลวจะระเหยได้มาก
บริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเทหรือไม่มีลมพัดตลอดเวลา ของเหลวจะระเหยได้น้อย
6. การคนหรือกวน เมื่อมีการคนหรือกวนของเหลวของเหลวนั้นก็จะระเหยได้เร็วขึ้น ดังนั้น ของเหลวหนึ่งๆ จะระเหยกลายเป็นไอได้เร็วขึ้นก็ต่อเมื่อ
พื้นที่ผิวของของเหลวนั้นเพิ่มขึ้น                           
ของเหลวนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ความดันของบรรยากาศเหนือของเหลวลดลง        
เมื่อมีการคนหรือกวนของเหลวนั้น
อากาศเหนือของเหลวมีการถ่ายเทตลอดเวลา เพื่อป้องกันการอิ่มตัวของไอ

 การทำความเย็นด้วยการระเหย ( Evaporative Cooling)
       จะใช้ได้ดีกับสภาวะอากาศแห้งๆ ถ้าอากาศชื้นวิธีนี้จะไม่เหมาะสม ซึ่งเมื่อเพิ่มความชื้นมากเกินไปจะทำให้ไก่ไม่สบาย ทั้งนี้ความชื้นสัมพัทธ์ก็ต้องเหมาะสมด้วยประมาณ40 - 60 %RH อุปกรณ์ที่ใช้ในวิธีการทำความเย็นประเภทนี้คือ พัดลมน้ำ
หลักการ
เมื่อพัดลมน้ำ เป่าน้ำเข้าไปในโรงเลี้ยงไก่ น้ำก็จะระเหยจนหมด ความชื้นก็จะเพิ่มขึ้น (Relative Humidity ) จากสมการสมดุลพลังงาน เรามองว่าอัตราการไหลเชิงปริมาตรของละอองน้ำและเอนทัลปีของละอองน้ำที่มีค่าประมาณ100กว่าๆkJ/kg เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเอนทัลปีของอากาศซึ่งมีค่า 2000 กว่า kJ/kg เอนทัลปีของละอองน้ำจะมีค่าน้อยมาก สามารถตัดทิ้งได้ เราก็จะได้ว่าเอนทัลปีที่ทางเข้ามีค่าเท่ากับเอนทัลปีที่ทางออก จะเห็นได้ว่ากระบวนการทำความเย็นด้วยการระเหยนี้เป็น Adiabatic Saturation Processes  เมื่อนำกระบวนการปรับอากาศ( Air Conditioning Processes )นี้ไป plot ใน Psychrometric Chart จะพบว่ากระบวนการจะไปตามเส้น Wet-Bulb Temperature คงที่
รูปที่ 2.8 แสดงรูป หลักการพัดลมไอน้ำ
 วิธีการนี้ทำให้อุณหภูมิต่ำลงได้อย่างไร
เมื่อพัดลมน้ำ เป่าละอองน้ำออกไป น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิบรรยากาศก็จะดูดความร้อนเข้าหาตัวทำให้กลายเป็นไอน้ำและระเหยไป ดังนั้นอุณหภูมิในโรงเลี้ยงไก่จะสามารถลดลงได้ แต่อย่าลืมว่าความชื้นสัมพัทธ์จะต้องเหมาะสมมิเช่นนั้นไก่อาจจะไม่สบายได้
          
รูปที่ 2.9 แสดงรูป การทำให้อุณหภูมิต่ำ

REFERENCE:
- Thermodynamics II,Assoc.Prof.Sommai Priprem,PhD.,Dept of ME,KKU
- //gilbertovelasquez.com/coolazone/general_artwork/EVAPORATIVE-COOLING.tif
- //www.thaidbmarket.com/uploads/20090624-051926-.jpg
- //www.bigdutchman.de/Current-News.393.98.html?&no_cache=1&L=6&tx_ttnews[tt_news]=56
- Thermodynamics An Engineering Approach,Cengel Sixth Edition SI Unit
Create Date : 02 ธันวาคม 2553
Last Update : 23 มกราคม 2554 22:42:59 น.

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง
1. วัสดุ/อุปกรณ์
1. ชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ (แผงคอมแอร์รถยนต์)
2. สายยางขนาดเล็ก
3. ปั้มน้ำตู้ปลา
4. Adapter
5. เหล็กกล่องขนาด  1 นิ้ว
6. สวิตช์เปิด-ปิด
7. กล่องพลาสติก สำหรับใส่น้ำ
8. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
9.Battaryแห้ง
10.สายไฟเพื่อต่อเชื่อมระบบไฟฟ้า
11.พัดลม

2. วิธีดำเนินการศึกษา/ทดลอง
1. นักศึกษา ศูนย์การเรียนชุมชนดีสมบุญ ประชุมเสนอแนวความคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน
2. ตัวแทนนักศึกษา เขียนเค้าโครงงาน เรื่อง ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน และนำเสนอครูที่ปรึกษา
3. แบ่งหน้าที่สมาชิกค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4. ออกแบบเค้าโครง การนำเหล็กกล่องมาออกแบบเชื่อมประกอบกันเป็นโครงสร้างตู้  และประกอบแผงคอมแอร์รถยนต์เข้ากับโครงสร้างตู้, ต่อสายไฟเข้ากับสวิตช์,  ต่อสายยางทำทางเข้า-ออกของน้ำ จากกล่องพลาสติก
5. ทดลองโดยนำน้ำใส่กล่องพลาสติกโดยใส่น้ำแข็งลงไปด้วย หรือใช้น้ำเย็น ปริมาณ 2 ส่วน 3 ของกล่อง
6. ทดลองต่อเชื่อมระบบไฟฟ้ากับ Battary แห้ง พบว่า สามารถทำงานปล่อยไอเย็นออกมาได้
7. ทดลองต่อเชื่อมระบบไฟฟ้ากับ Adapter  พบว่า สามารถทำงานปล่อยไอเย็นออกมาได้เช่นกัน
8. ทดลองซ้ำโดยนำน้ำต้มร้อนใส่กล่องพลาสติก ปริมาณ 2 ส่วน 3 ของกล่อง
9. ทดลองต่อเชื่อมระบบไฟฟ้ากับ Battary แห้ง พบว่า สามารถทำงานปล่อยไอลมอุ่นออกมาได้
10. ทดลองต่อเชื่อมระบบไฟฟ้ากับ Adapter  พบว่า สามารถทำงานปล่อยไอลมอุ่นออกมาได้เช่นกัน
11. นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดตามขนาดของตู้ ปิดประกอบให้รอบเปิดช่องด้านล่างไว้วางกล่องใส่น้ำ
12. เก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย ตกแต่งให้สวยงาม
13. บันทึกขั้นตอนการทำงาน
14. จัดทำรายงานโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า
จากการศึกษาค้นคว้า ทำให้คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้ถึง ทฤษฎีการระเหยของน้ำ และเกิดความเข้าใจในหลักการของการทำงานของแผงคอมแอร์รถยนต์ทั่วไป, ระบบไหลวนของน้ำ และได้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ประดิษฐ์สิ่งที่มีประโยชน์ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจากเพื่อนๆ ในกลุ่มที่มีอาชีพแตกต่างกัน ทำให้เกิดความรู้ที่กว้างขวางมากขึ้น






ภาพ 4.1 ผลงานเริ่มแรกที่ประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน




ภาพ 4.2 ผลงานที่สำเร็จจากการประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน


บทที่  5
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
จากการทำโครงงานตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้คือเพื่อประดิษฐ์ตู้พัดลมอเนกประสงค์ประหยัดพลังงาน ที่สามารถใช้งานได้จริง ทดแทนการเปิด เครื่องปรับอากาศ หรือ เครื่องทำไออุ่น และประหยัดพลังงานไฟฟ้าทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แบบSTEM   EDUCATION
ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน       
        จากการศึกษาสามารถศึกษาความเป็นมาและหลักการทำงานของเครื่องปั้มน้ำที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป จนนำมาสู่การประดิษฐ์ชิ้นงานที่สามารถใช้งานได้ และประหยัดพลังงาน
ข้อเสนอแนะ                                                                                                                ในการทำการประดิษฐ์สิ่งของควรเลือกวัสดุ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการประดิษฐ์ในแต่ละขั้นตอน


  
บรรณานุกรม




ไม่มีความคิดเห็น:

<marquee direction="left">สมัครเรียน กับ ศกร.ดีสมบุญ</marquee>

เปิดรับสมัครเรียนแล้วค่ะ ศูนย์การเรียนดีสมบุญ กศน.เขตบางบอน เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565   ระดับชั้น ประถมศึกษา,...