สถาบันพระมหากษัตริย์

https://drive.google.com/file/d/1Y5NElZz4pCr-8EUy_mDUSv600Zph5OMQ/view?usp=drivesdk
สมัยสุโขทัย

https://drive.google.com/file/d/1jJvkD002afGAI4kHTLRY1aeQwS_ANkS8/view?usp=drivesdk
สมัยอยุธยา

https://drive.google.com/file/d/1I8XtPnSI2Z0sir6v6GjCZuhM3-ypSbzr/view?usp=drivesdk
สม้ยธนบุรี

https://drive.google.com/file/d/1eB1tPjMHCuHrhmgAZS2WYS1eVj8ez8hm/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๑

https://drive.google.com/file/d/1Gok3WNIYkCiQkGQ7Go7acj3sxbQ1R1ls/view?usp=drivesdk  รัชกาลที่ ๒

https://drive.google.com/file/d/1FPnFdlT_KsTNLhjiEkt6XZubp8aMdZ0S/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๓

https://drive.google.com/file/d/10S1dkg_CHgVFNOcMpSiTPr938xwG7jqb/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๔

https://drive.google.com/file/d/1tbq1ZRdnp0i1RhriqHX6YEeeOn3RzXsl/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๕

https://drive.google.com/file/d/1YeeP972-tIvghu3u-vos604ST_sKpuJa/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๖

https://drive.google.com/file/d/1VX0lqwlL8Yj4OJ1BLG-VtAmuct_4RQVX/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๗

https://drive.google.com/file/d/1bm4qVYTsw68KoTZ8PssGViJX8pHylsu3/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๘

https://drive.google.com/file/d/1-aiKT5s2aNKhHuefNkdIGhJV0NbZYFlP/view?usp=drivesdk  
รัชกาลที่ ๙

https://drive.google.com/file/d/1O39NfDcSiycVnfUuhQ8EO7wiVuOO6fnk/view?usp=drivesdk
รัชกาลที่ ๑๐

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

https://www.youtube.com/watch?v=pJBMgUdKonw
ละครประวัติศาสตร์ โดย นศ.กศน.เขตบางบอน ศรช.ดีสมบุญ

https://www.youtube.com/watch?v=25INkDWqDN8
ละครประวัติศาสตร์ โดย นศ.กศน.เขตบางบอน ศรช.ดีสมบุญ



https://sites.google.com/site/prawatisastrklum6/home  บทเรียนประวัติศาสตร์ชาติไทย

@@@@@@@@@@@@@@@@

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

https://youtu.be/uj5-xSwrmI8   รัชกาลที่  1

https://youtu.be/EWxVyZ0FTpM     รัชกาลที่ 2

https://youtu.be/QPPeM1Ob4lQ   รัชกาลที่ 3

https://youtu.be/yocHVmgk08U   รัชกาลที่ 4

https://youtu.be/gaGFF05eyX8   รัชกาลที่ 5

https://youtu.be/EeeNKSOoAYA  รัชกาลที่ 6

https://youtu.be/pLTOwgXzeOA  รัชกาลที่ 7

https://youtu.be/29YhSBXkgA4  รัชกาลที่ 8


*********************************************************************

หนังสืองานพระศพ 

จัดทำเสร็จแล้วครับ 50 หน้า

(เปิดอ่านเหมือนหนังสือได้เลยครับ)


http://www.m-culture.go.th/th/ebook/Glossary_about_HM_King_Bhumibol_Adulyadej's_Funeral/mobile/index.html#p=1                


ในหลวง : ผู้ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม


ในหลวง : ผู้ทรงครองแผ่นดินโดยธรรมนับแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานอารักขาแก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493   เป็นปฐมบรมราชโองการว่า   “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม   เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เป็นต้นมา   ตราบจนถึงปัจจุบันใกล้จะครบ 60 ปี แห่งการดำรงสิริราชสมบัติ  ณ วันที่ 9 มิ.ย. พ.ศ. 2549 ที่จะถึงนี้แล้วนั้น   เราจะพบว่าพระราชจริยาวัตรและพระราช-กรณียกิจที่ทรงปฏิบัติตลอดมา  ได้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกันว่าทรงดำเนินตามแนวพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่   และทรงถึงพร้อมด้วยหลักราชธรรมที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติทุกประการไม่ว่าจะเป็นราชสังคห-วัตถุ 4 , จักรวรรดิวัตร 12 , ขัตติยพละ 5 , พรหมวิหารธรรม 4  และ ทศพิธราชธรรม   ทั้งนี้ด้วย ทรงตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของศีลธรรมทางศาสนา  อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก จึงทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีเสมอมา   ในที่นี้จักได้อัญเชิญพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติในการปกครองประเทศโดย “ธรรม” เฉพาะทศพิธราชธรรมมาเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถแล้วยังต้องทรงใช้พระวิริยอุตสาหะ  และ ความเสียสละ  มากมายเพียงใด   จึงบรรลุถึงซึ่งประโยชน์สุขแก่มหาชนคนไทยได้เช่นทุกวันนี้

ทศพิธราชธรรม หรือ ธรรมของพระราชา 10 ประการ นั้น ประกอบด้วย ทาน, ศีล, ปริจจาคะ, อาชชวะ, มัททวะ, ตปะ, อักโกธะ, อวิหิงสา, ขันติ และ อวิโรธะ

ทาน  นั้นมีสองอย่างได้แก่ธรรมทาน กับ อามิสทาน  ธรรมทานคือการให้สติปัญญา, ความรู้, คุณธรรม, ความถูกต้อง  เป็นการให้ความดีให้ความสุขสงบเย็น   ข้อนี้พสกนิกรชาวไทยทุกคนได้รับอยู่เสมอ จากพระบรมราโชวาท-พระราชดำรัสที่ได้พระราชทานในโอกาสต่างๆ  ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดสติปัญญา  สามารถนำไปปฏิบัติ แก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ  และตั้งอยู่ในความดีมีสุข   ส่วนอามิสทานคือการให้วัตถุเป็นทานนั้น  เราก็เห็นกันจากการที่ได้พระราชทานอาหาร  ยารักษาโรค  เมล็ดพันธุ์พืช และของใช้จำเป็นอื่นๆในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรตามท้องถิ่นทุรกันดารที่เขามีความขาดแคลน  รวมไปถึงผู้ประสบภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติก็ล้วนได้รับพระราชทานความช่วยเหลือมาโดยตลอด  เรียกได้ว่าทรงบำเพ็ญทานบารมีอย่างมากมายและครบถ้วนสมบูรณ์

ศีล  เป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ผู้มีศีล คือผู้มีเจตนางดเว้นจากการประทุษร้าย หรือทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยกาย หรือวาจา  ผู้มีศีลย่อมสำรวมรักษาความประพฤติไม่ให้เป็นไปในทางทุจริตหรือในทางเบียดเบียนไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น นอกจากจะเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนาตามขัตติยราชประเพณี และทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดแล้ว เมื่อทรงลาผนวชก็ทรงรักษาศีลของฆราวาส และทรงประพฤติธรรมทั้งยังชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติตาม   แม้ผู้มิได้นับถือพุทธศาสนา ก็ทรงสนับสนุนให้ศาสนิกเหล่านั้น ปฏิบัติตามหลักศีลธรรมที่ตนนับถือ เนื่องจากทรงตระหนักดีว่าทุกศาสนาล้วนมีหลักคำสอนที่มุ่งให้ทุกคนเว้นจากความชั่วทำความดีด้วยกันทั้งนั้น

ปริจจาคะ  การบริจาคหรือเสียสละความสุขสำราญอันเป็นการบริจาคชั้นสูงยิ่ง   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานอกจากจะทรงเสียสละทั้งกำลังพระวรกาย  และพระสติปัญญา ตลอดจนความสุขส่วนพระองค์ในการมุ่งบำเพ็ญพระราชกรณียกิจบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎรและเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของชาติบ้านเมืองเป็นสำคัญแล้ว  ยังทรงชักชวนและให้กำลังใจแก่ข้าราชการและประชาชนให้เป็นผู้มีความเสียสละต่อบ้านเมืองด้วย  ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสแก่ภรรยาและบุตรข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตจากการถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ลอบสังหารรายหนึ่งว่า “คนเราเลือกเวลาตายไม่ได้   ต้องตายด้วยกันทุกคน   แต่การตายในหน้าที่เช่นนี้  เป็นการตายที่มีเกียรติยิ่ง”

อาชชวะ  ความซื่อตรง  เป็นคุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาโดยตลอดนับแต่ทรงดำรงสิริราชสมบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน  ทรงซื่อตรงทั้งต่อพระองค์เอง   ต่อหน้าที่   ต่อประชาชน และชาติบ้านเมือง

มัททวะ  ความอ่อนโยน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีมัททวะธรรมความสุภาพอ่อนโยน เป็นที่ประจักษ์ทรงมีพระกิริยา พระวาจา และพระหฤทัยสุภาพ ไม่เคยทรงแสดงกิริยาดูหมิ่น หรือแข็งกระด้างแก่ผู้ใด แม้บุคคลที่ต่ำกว่า จึงได้ทรงเป็นที่รักยิ่งของประชาชน

ตปะ  การบำเพ็ญตน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญเพียรเผากิเลสตัณหา  มิให้ความหลงไหลในความสุข ความปรนเปรอ หรือความเกียจคร้านเข้ามาครอบงำพระทัยได้  จึงทรงมีพระตบะอย่างยอดเยี่ยมทำให้สามารถประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่บรรลุผลสำเร็จเป็นที่น่าอัศจรรย์   ทั้งยังทรงมีพระราชดำรัสสั่งสอนประชาชนให้มีความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้านตอนหนึ่งที่ว่า  “ขอให้ทุกคนพยายามช่วยกัน  และพยายามที่จะขยันหมั่นเพียร พยายามอดทนต่อไป  แล้วสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ส่วนรวม แก่บ้านของเรา แก่ครอบครัว และแก่ตนเอง  ถ้าทุกคนมีความอดทนมีความเพียรพยายามก็เชื่อว่าหมู่บ้านนี้จะเจริญรุ่งเรือง”

อักโกธะ  ความไม่โกรธ และไม่อาฆาตพยาบาท คุณธรรมข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญเป็นที่ประจักษ์แก่ทั้งประชาชนชาวไทยและนานาประเทศมาแล้ว  ดังเมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนต่าง-ประเทศ (ออสเตรเลีย) เมื่อปี พ.ศ. 2505  แล้วได้มีประชาชนของประเทศนั้นมาคลี่ป้าย ไม่ต้อนรับผู้เผด็จการเมืองไทย ซึ่งจากพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรื่อง “ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ” มีอยู่ตอนหนึ่งที่จะขออัญเชิญมาแสดงเพื่อยืนยันถึงความเป็นผู้ไม่โกรธ  ไม่อาฆาตพยาบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนี้

“ข้าพเจ้าเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระทัยเย็นเป็นที่สุด ข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าสั่นด้วยความน้อยใจปนความโกรธ นึกสงสารตัวเองเป็นกำลังว่าเรามาเหนื่อย ๆ เพื่อมาเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศเรากับประเทศเขา กลับมาโดนคลี่ป้ายไล่ทันทีที่มาถึง ใช่ว่าเราจะขอมาเมื่อไร เขาเชิญเรามาต่างหาก   พระเจ้าอยู่หัว-กลับรับสั่งปลอบว่า ให้เฉยๆไว้  ทำใจเย็นเข้าสู้  อย่าได้แสดงความรู้สึก เช่น เสียใจ หรือน้อยใจออกมาให้ทางฝ่ายบ้านเมืองเห็นเป็นอันขาด  อันที่จริงก็เป็นการกระทำของผู้ก่อกวนเพียงคนเดียวหรือส่วนน้อย  รัฐบาลออสเตรเลียได้ถวายพระเกียรติเต็มที่และราษฎรก็ต้อนรับเราด้วยความไมตรีอันดียิ่ง อาจจะเป็นความประสงค์ของตนส่วนเดียวก็ได้ที่จะแกล้งทำให้เราโกรธจนหัวเสียไป  ตลอดเวลา 18 วันที่ท่องเที่ยวอยู่ในประเทศออสเตรเลีย  พระเจ้าอยู่หัวทรงย้ำไม่ให้ข้าพเจ้าลืมว่า  เมื่อกี้เป็นการกระทำของคนส่วนน้อย ไม่ใช่เป็นการกระทำของประชาชนทั่วประเทศ…”

อวิหิงสา  ความไม่เบียดเบียน   การมีอวิหิงสาธรรมนั้น  นอกจากจะงดเว้น  ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งชีวิตและทรัพย์สินแล้ว  การสำรวมตน การถือความสันโดษ ประหยัด เรียบง่าย ไม่ทำตัวเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง หรือมีพิธีรีตองจนเกินควร ก็เป็นการปฏิบัติเพื่อความไม่เบียดเบียนด้วยเช่นกัน  ซึ่งพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีอวิหิงสาธรรมอยู่เต็มเปี่ยม ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน

ขันติ  ความอดทน ในเรื่องของความอดทนนี้ จากความทันสมัยของสื่อในปัจจุบัน  ย่อมทำให้คนทั่วไปได้มีโอกาสเห็นถึงความเหนื่อยยากของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อพระราชทานความช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นห่างไกลคมนาคมได้เป็นอย่างดีว่าต้องทรงใช้ความอดทนเพียงใด  ไม่ว่าจะเป็นการอดทนต่อความทุกข์ยากขณะเดินทางในที่กันดารที่แม้แต่คนธรรมดาก็ไม่ต้องการจะไป  อดทนต่อแดด  ต่อฝน  ต่ออากาศที่ร้อนหรือหนาว   แม้ความหิวกระหาย   ซึ่งภาวะของความไม่สะดวกสบายเช่นนี้สามารถเกิดได้หลายอย่างพร้อมกันในการเสด็จฯ เพียงท้องที่เดียว แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีขันติธรรม  ได้เสด็จฯ ไปทุกถิ่น  ทุกที่  ที่ประชาชนมีความลำบากยากเข็ญโดยไม่ทรงย่อท้อ  ตลอดระยะเวลายาวนานหลายสิบปี    เพื่อราษฎรของพระองค์จะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อวิโรธนะ  คือการวางตนเป็นหลักหนักแน่นในธรรม ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความถูกต้องดีงาม ความสุจริต-ยุติธรรม   คุณธรรมข้อนี้ นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงถึงพร้อมในพระราช-กรณียกิจที่ทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เอง แล้ว ยังได้ทรงมีพระบรมราโชวาทเตือนสติ ผู้มีหน้าที่รักษากฎหมายด้วยว่า

“การพิจารณาตัดสินอรรถคดีนั้นกระทำตามตัวบทกฎหมาย  ตัวบทกฎหมายจึงสำคัญมาก  และจะต้องมีบทบัญญัติอันถูกต้องเป็นธรรม ปราศจากช่องโหว่… ความไม่เป็นธรรมหากจะเกิดขึ้นในการตัดสินอรรถคดี ไม่ใช่จะอยู่ที่ตัวบทกฎหมาย  แต่อยู่ที่ตัวบุคคล ตราบใดผู้ที่ใช้กฎหมายมีความสุจริต  มีจรรยา  และมโนธรรมของนักกฎหมายมั่นคงแล้ว ก็ไม่ควรจะเกิดความผิดพลาด”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดหลักธรรมเช่นนี้ในการปกครองประเทศ  จึงนับเป็นบุญอันมหาศาลของคนไทยที่ได้เกิดมาอยู่ภายใต้ร่มพระบารมี  ได้มีความสุขสงบร่มเย็นเสมอมา แม้บางครั้งจะเกิดเหตุการณ์ไม่น่าพึงใจแต่ก็สงบลงได้ด้วยพระเมตตาบารมีทุกครั้ง

ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม นี้ จึงขอเชิญชวนชาวไทยได้พร้อมใจกันน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคลให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนชาวไทย ทรงพระเกษมสำราญเป็นนิจนิรันดรกาล เทอญ



เรียบเรียงจาก - หนังสือพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชธรรมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช : พระภิกษุปรัชญา อภิวโส (สร้อยประดิษฐ์) : ธรรมสภา : มิถุนายน 2539
                  - สำนักข่าวไทย : 12 มิถุนายน 2539

ความสำคัญ วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่  พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก
พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมพูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมพูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร
พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์
พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหมณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจัก หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
พิธีเบื้องปลาย เมือเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง
เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสร็จพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยงข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน ให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี
การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต
แต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำดิว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่อธิบายใหฟังก็ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าอยู่หัวได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาลสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน
การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน ในขั้นตอนการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม
งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
และเนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบปี 50 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง
กิจกรรมที่ควรปฏิบัติเนื่องในวันฉัตรมงคล
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
2. ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศล
3. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน
แหล่งอ้างอิง
1. ธนากิต วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
2. ธนากิต ประเพณี พิธีมงคล และ วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539.
3. วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528.



ข่าวในหลวงเสด็จโครงการพระราชดำริ "ชั่งหัวมัน" จ.เพชรบุรี

http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81/82969/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B4-%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5.html


รูปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2555 กิจกรรม "ลงนามถวายพระพร ในหลวง และพระราชินี"
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.544981632182523.140362.100000120745834&type=3


บทเพลง  "ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป" อัสนี วสันต์

http://www.youtube.com/watch?v=QCqa2JIipBA&feature=g-vrec



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร







เพลงเห่เรือ การแสดงแสงสีเสียง ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ




สิ่งที่เราควรรู้
เกร็ดความรู้ของฉลองพระองค์รบพิเศษทบ.ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

25/05/2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่ทุ่งมะขามหย่องในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนี้คือเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอพับแขนยาว หมวกทรงอ่อนสีแดง และสายยงยศแดง ซึ่งเป็นเครื่องแบบของหน่วยรบพิเศษ กองทัพบก และทรงฉลองพระยศจอมพลแห่งกองทัพบกไทย ตามสถานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นจอมทัพไทย และทรงพระยศ จอมพล, จอมพลเรือ, จอมพลอากาศ

หน่วยรบพิเศษ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หรือ กองกำลังพิเศษ เป็นทหารที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีโดยกองทัพซึ่งพวกเขาเหล่านั้นสามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษอย่างเช่น การลาดตระเวนพิเศษ สงครามนอกแบบ และการต่อต้านการก่อการร้าย
Published on May 25, 2012 by 

ไม่มีความคิดเห็น:

<marquee direction="left">สมัครเรียน กับ ศกร.ดีสมบุญ</marquee>

เปิดรับสมัครเรียนแล้วค่ะ ศูนย์การเรียนดีสมบุญ กศน.เขตบางบอน เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565   ระดับชั้น ประถมศึกษา,...