Asean


แหล่งเรียนรู้ เพิ่มเติม เกี่ยวกับอาเซียน
http://www.eastasiawatch.in.th/information.php

  หนังสือเรียนเพิ่มเติม รายวิชา อาเซียนศึกษา 

http://www.ddn.ac.th/web/UserFiles/file/manual_asean.pdf    


ใบความรู้ที่ ๗

                  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) AEC คืออะไร
อาเซียนให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่าง ต่อเนื่อง หลังจากการดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) และให้อาเซียนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord IIเห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภายในปี 2563 และให้เร่งรัดการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบินยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศและสุขภาพ
เป้าหมายของ AEC
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยมีแนวคิดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือ Single market and production base นั่นหมายถึงจะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงานมาร่วมในการผลิต มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์กฎระเบียบเดียวกัน
แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นเป้าหมายที่ท้าทายสำหรับไทยในอีก ปีข้างหน้า ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งดำเนินการและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งนี้ การดำเนินงานเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ผ่านมา 15 ปี ถือว่าประสบผลสำเร็จพอสมควร เห็นได้จากปริมาณการค้าภายในอาเซียนที่ขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในด้านการลงทุนยังไม่บรรลุผล เนื่องจากปริมาณการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียนยังอยู่ในระดับต่ำ มากนอกจากนี้ ประเทศจีนและอินเดียเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาค และเป็นแหล่งดึงดูดในด้านเศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนแต่ละประเทศ ที่มีเศรษฐกิจเล็กมาก จึงมีความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องเร่งดำเนินการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน เพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในลักษณะเดียวกับ EU โดยจะต้องจัดทำแผนงานและดำเนินการตามอย่างเคร่งครัด และจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ความจำเป็นที่อาเซียนต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน ก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอำนาจของประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน และอินเดีย ทั้งนี้ อาเซียนได้ตกลงที่จะเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าและการค้าบริการให้เร็วขึ้น กว่ากำหนดการเดิม ในสาขาสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา เพื่อเป็นการนำร่อง และส่งเสริมการ outsourcing หรือการผลิตสินค้า โดยใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตภายในอาเซียนซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินการ เพื่อมุ่งไปสู่การเป็น AEC และได้มอบหมายให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ดังนี้ พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-based products) และสาขาประมง (Fisheries) มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based products) และสาขาสิ่งทอ(Textiles and Apparels) อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ (Automotives) และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ (Wood-based products) ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) และสาขาสุขภาพ (Healthcare) ไทย สาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air Travel) AEC Blueprint ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้เห็นชอบและมอบหมายให้ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SEOM) จัดทำพิมพ์เขียว AEC Blueprint เพื่อเป็น แผนงานภาพรวมที่จะระบุกิจกรรมด้านเศรษฐกิจครอบคลุมทั้งสินค้า/บริการ การลงทุน แรงงาน และเงินลงทุนที่จะเปิดเสรีมากขึ้นในอนาคต เหตุผลที่อาเซียนต้องจัดทำ AEC Blueprint ก็เพื่อจะกำหนดทิศทาง แผนงานในด้านเศรษฐกิจที่ต้องดำเนินงานให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดจน กว่าจะบรรลุเป้าหมายและเพื่อสร้าง "พันธสัญญา" ระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน เพราะการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการปรับตัวของอาเซียน ซึ่งมักจะมีความแตกต่างในด้านต่างๆ อันนำไปสู่ปัญหาความแตกแยก ไม่ลงรอยกัน


                                                    ใบความรู้ที่ ๘
   ประวัติความเป็นมา ความสำคัญ วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วม AFTA
      เขตการค้าเสรีอาเซียน ( ASEAN Free Trade Area: AFTA) หรือเรียกว่า อาฟตา เป็น ข้อตกลงทางการค้าของอาเซียน (ASEAN) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีวัตถุดิบ มีผลผลิตทางการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์ และมีสินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับที่ผลิตได้ในส่วนต่างๆ ของโลก ทั้งยังเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพทางการซื้อสูง
      ประวัติความเป็นมา
       จากการประชุมผู้นำอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ.2535 อันประกอบด้วย ไทย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ตกลงที่จะขายสินค้าระหว่างกันอย่างเสรี (ยกเว้นสินค้าเกษตร)เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สมาชิก โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน พ.ศ.2546 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ มกราคมพ.ศ. 2536 เป็นต้นไป เรียกข้อตกลงทางการค้าของกลุ่มอาเซียนนี้ว่า “เขตการค้าเสรีอาเซียนสาเหตุสำคัญของการก่อตั้ง AFTA คือ ประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลกต่างค้าขายและขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง ทำให้หลายประเทศต่างหวาดหวั่นว่า การลงทุนจากต่างประเทศจะหลั่งไหลไปยังยุโรปตะวันออกและสาธารณรัฐที่แยกตัว ออกมาจากสหภาพโซเวียต ไม่มาลงทุนในประเทศของตน จะทำให้ประสบกับภาวะฝืดเคืองและเศรษฐกิจถดถอย จึงหาทางที่จะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด กลุ่มแรก คือ ประชาคมยุโรปได้ตกลงที่จะรวมตัวกันเป็นตลาดเดียวภายใน พ.ศ.2535 และใช้มาตรการทางการค้า เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่ม เช่น การกำหนดอัตราภาษีศุลกากรใหม่ การกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้าการจำกัดโควต้าสินค้านำเข้า เป็นต้น มาตรการเหล่านี้ทำให้กลุ่มอาเซียนเห็นว่าจะเป็นสาเหตุทำให้สินค้าของตนขาย ได้น้อยลง จึงร่วมมือกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นในรูปที่คล้ายคลึงกัน
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง 1. เพื่อให้การขายสินค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรีมีอัตราภาษีต่ำและปราศจากข้อจำกัดทางการค้า
2. เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในอาเซียน
3. เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรอง และเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น หากได้รับความกดดัน หรือถูกเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากประเทศอื่นๆ

ผลการปฏิบัติงาน
AFTA ได้ดำเนินการลดภาษีสินค้าระหว่างประเทศที่มีแหล่งกำเนิดในอาเซียน ดังนี้
1. สินค้าลดปกติ กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน เหลือร้อยละ 0.5 ภายใน 10 ปีคือ ภายในวันที่ มกราคม พ.ศ. 2546 ยกเว้นสมาชิกใหม่ของอาเซียน คือ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ให้เลื่อนเวลาสิ้นสุดการลดภาษีออกไป
2. สินค้าเร่งลดภาษี ประกอบด้วยสินค้า 15 สาขา ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง
เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย น้ำมันพืชเคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว เภสัชภัณฑ์ และแคโทดที่ทำจากทองแดง กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน ปี คือสิ้นสุดวันที่ มกราคม พ.ศ.2543
3. สินค้าที่เริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าอื่นๆ ได้แก่ สินค้าเกษตรไม่สำเร็จรูป เริ่มลดภาษีภายในพ.ศ.2544-2546 และลดเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน พ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าบางชนิด เช่น ข้าวและน้ำตาลไม่ต้องลดเหลือร้อยละ 0-5 แต่ให้ลดตามอัตราที่ตกลงกัน
ประโยชน์ของ AFTA ต่อไทย
1. ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
1.1 กระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตในประเทศทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
1.2 ยกระดับความสามารถทางการผลิต
1.3 ผู้ผลิตสามารถนำเข้าวัตถุดิบที่ถูกลง และลดต้นทุนการผลิต
1.4 ผู้ผลิตสินค้าของไทย สามารถที่จะใช้ประโยชน์จาก Supply Chain ในอาเซียน เช่นการใช้วัตถุดิบ หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากประเทศอาเซียนอื่นๆ หรืออาจโยกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ หรือเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีความได้เปรียบสูงสุดจากประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ เช่น
กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และแรงงาน
สิงคโปร์ มาเลเซีย มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นฐานการผลิต เป็นต้น
2. ประโยชน์ต่อผู้ส่งออก – ผู้นำเข้า
2.1 ตลาดสินค้ากว้างขึ้น สามารถรักษาตลาดเดิม เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และขยายตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
2.2 เป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาคใกล้เคียง
2.3 ผู้ส่งออกสามารถขยายการค้าและบริการ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันจากภาษีนำเข้าของประเทศคู่เจรจาที่ลดลง
2.4 สร้างพันธมิตร เพิ่มอำนาจการต่อรอง
2.5 ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า เมื่ออุปสรรคภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างอาเซียนถูกยกเลิกไป จะเปิดโอกาสให้สินค้าเคลื่อนย้ายเสรี ไทยจะมีโอกาสที่ขยายการส่งออกไปยังอาเซียนได้มากขึ้น
3. ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
3.1 ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายมากขึ้น
3.2 ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันของอาเซียน
4. ประโยชน์ต่อเกษตรกร
4.1 สามารถส่งสินค้าเกษตรออกไปขายได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีสินค้าเกษตร เป็น 0
4.2 สามารถขยายตลาดสินค้าเกษตรไปยังประเทศนอกกลุ่มได้ และมีอำนาจในการต่อรองที่สูงขึ้นการเตรียมการของภาครัฐรองรับการเปิดเสรียก เลิกโควต้าภาครัฐได้จัดเตรียมแนวทางการใช้มาตรการอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อพันธกรณีภายใต้ AFTA ควบคู่ไปกับการยกเลิกโควต้า โดยอาศัยข้อยกเว้นทั่วไปของความตกลงที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถบังคับ ใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อปกป้องชีวิต หรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช เช่น
มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)
การกำหนดมาตรฐานสินค้า
ช่องทางและเวลานำเข้าที่เหมาะสม
                                                       ใบความรู้ที่ ๙
                               ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมกลุ่มอาเซียน 
          ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South-East Asian Nations : ASEAN) ตั้งแต่วันที่ สิงหาคม 2510 เป็นต้นมา ไทยได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายๆ ด้าน ซึ่งเป็นผลมาจากการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวที ระหว่างประเทศ และช่วยให้เสียงของอาเซียนมีน้ำหนัก เพราะการที่สมาชิกทั้ง 10 ประเทศมีท่าทีเป็นหนึ่งเดียวในเวทีระหว่างประเทศ จะทำให้ประเทศและกลุ่มความร่วมมืออื่นๆ ให้ความเชื่อถือในอาเซียนมากขึ้น ท้ายที่สุดแล้วประโยชน์ก็จะตกอยู่ที่ประชาชนในประเทศนั้น ๆ เช่น
1. การเพิ่มการจ้างงานและแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคแม้ว่าการกระตุ้นการเติบ โตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มการจ้างงานและการลดปัญหาความยากจน เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลแต่ละประเทศเป็นหลัก แต่ความร่วมมือหลายด้านของอาเซียนก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาดัง กล่าวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจรวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชน ในภาพรวม นอกจากนี้ อาเซียนยังได้วางรากฐานสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อสร้างตลาด ขนาดใหญ่ที่จะทำให้อาเซียนมีความน่าสนใจและดึงดูดการลงทุนได้เพิ่มขึ้น
2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนจัดการประชุมด้านการท่องเที่ยว (ASEAN Tourism Forum-ATF หรือ เอทีเอฟ)เป็นประจำทุกปีในเดือนมกราคม โดยหมุนเวียนกันจัดในประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมด้านการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จ มากที่สุดในโลกในระหว่างการประชุม หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน อาทิ โรงแรม รีสอร์ท สายการบินและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว จะมีโอกาสทำความรู้จักและเจรจาทางธุรกิจกับบริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจด้านท่องเที่ยวอื่นๆ รวมถึงนักเขียนด้านการท่องเที่ยวอีกด้วยประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันเพื่อ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และยังมีโครงการจัดทำรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในอาเซียน เพื่อเผยแพร่ ในปี 2545 อาเซียนได้จัดทำความตกลงด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดเสรีด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและส่ง เสริมการท่องเที่ยวร่วมกันในภูมิภาค รวมถึงร่วมมือกันในการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวอาเซียน นอกจากนี้ อาเซียนยังได้ริเริ่มความร่วมมือในการจัดทำความตกลงการตรวจลงตราเพียงครั้ง เดียว (Single Visa) แต่ใช้เดินทางเข้าได้หลายประเทศในลักษณะเดียวกับ Schengen Visa ของยุโรป ซึ่งนำร่องโดยไทยและกัมพูชา
3. การส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนมีความร่วมมือเรื่องสิ่ง แวดล้อมระหว่างกันหลายด้าน ตัวอย่างหนึ่งของความร่วมมือที่เห็นได้ชัดเจนคือ การแก้ปัญหาหมอกควันซึ่งมีสาเหตุจากไฟป่าและไฟบนดินผ่านกรอบความร่วมมือ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบของปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยมีการจัดตั้งศูนย์อุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางอาเซียนที่สิงคโปร์ เพื่อกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพอากาศและระบบการวัดปัญหาอันตรายของไฟ นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาไฟป่า ในปี 2540-2541 อาเซียนจึงรับรองแผนปฏิบัติการแก้ปัญหามลพิษในภูมิภาคซึ่งเป็นการรวมมาตรการ ต่างๆ ในการป้องกันไฟป่า ไฟบนดินและการบรรเทาผลกระทบ การศึกษาและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นโดยในปี 2545 มีการจัดทำความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2546 ไม่เพียงเท่านั้น อาเซียนยังมีความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติของอาเซียนโดยกำหนด พื้นที่ 27 แห่งให้เป็นพื้นที่คุ้มครองในฐานะมรดกทางธรรมชาติของอาเซียน มีโครงการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำ จัดตั้งศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพอาเซียน และโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมและระบบนิเวศ รวมทั้งเห็นชอบร่วมกันเรื่องการกำหนดเกณฑ์คุณภาพน้ำทะเล ตลอดจนรับรองแผนปฏิบัติงานเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาและการสร้างความตระหนักรู้ ให้กับสาธารณชนในเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ไทยยังได้ประโยชน์จากการกระชับ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน หมอกควันข้ามแดนและการจัดการทรัพยากรน้ำ
4. การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในภูมิภาคการรับมือวิกฤตการณ์โรคซาร์สใน ปี 2546 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในอาเซียน ทั้งยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของหลายประเทศ คือตัวอย่างที่ชัดเจนของความร่วมมือในอาเซียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคติดต่อในภูมิภาค โดยร่วมมือกับประเทศอื่นๆ และองค์การอนามัยโลกไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษร่วม กับผู้นำจีนที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือกันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือในการตรวจสอบและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เจตนารมณ์อันแน่วแน่ของแต่ละประเทศที่เห็นความสำคัญของการร่วมมือกันช่วยให้ การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อมาเมื่อมีการแพร่ระบาดของไข้หวัด นก อาเซียนก็ได้ร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาดำเนินมาตรการเพื่อ ป้องกันการแพร่ระบาด มีการจัดตั้งคลังวัคซีนทั้งในประเทศและประเทศสมาชิกอื่นๆ เช่น สิงคโปร์และได้ร่วมกันเตรียมอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอา เซียนยังให้การรับรองแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านโรคเอดส์และมีเว็บไซต์ เพื่อติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของโรคติดต่อด้วย
5. การแก้ปัญหาการก่อการร้ายสากล อาชญากรรมข้ามชาติ และการแก้ปัญหายาเสพติดอาเซียนประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบและมีความร่วม มือกันอย่างใกล้ชิดทั้งในอาเซียนและประเทศอื่นๆ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติ และต่อต้านการระดมเงินทุนของกลุ่มเหล่านี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมกราคม 2550 ผู้นำอาเซียนได้ลงนาม ในอนุสัญญาต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งวางมาตรการความร่วมมือระหว่างกันในการต่อต้านการก่อการร้ายและยังได้จัด ทำสนธิสัญญาพหุภาคี ว่าด้วยความช่วยเหลือทางอาญาซึ่งกันและกัน เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรม ข้ามชาติ ซึ่งกำหนดรายละเอียดของโครงการต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกต้องดำเนินเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้อีกด้วยสำหรับความร่วม มือด้านยาเสพติด อาเซียนมีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด ตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและส่งเสริมความตระหนักรู้ในเรื่องการบังคับใช้ กฎหมาย การให้ความรู้เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด รวมถึงการรักษาและการฟื้นฟู ทั้งยังมีความร่วมมือกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชา ชาติอีกด้วย
6. การจัดการกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติการจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัย พิเศษ เพื่อการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยในพม่าอันเกิดจากการพายุไซ โคลนนาร์กีสเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความร่วมมือในอาเซียน กรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งนำไปสู่การส่งมอบความช่วยเหลือให้กับพม่าโดยมีอาเซียนเป็นแกนนำการจัด ส่งทีมแพทย์จากอาเซียนไปช่วยผู้ประสบภัย และการจัดประชุมประเทศผู้บริจาคซึ่งอาเซียนมีบทบาทนำร่วมกับสหประชาชาติที่ กรุงย่างกุ้งของพม่า ซึ่งสามารถระดมความช่วยเหลือให้กับพม่าเพื่อการฟื้นฟูประเทศต่อไปทั้งนี้อา เซียนยังมีกลไกเพื่อรับมือกับภัยพิบัติผ่านคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการ ภัยพิบัติ ซึ่งจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรม การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ในสาธารณชนสมาชิกอาเซียนยังลงนามความตกลงว่าด้วย การจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้าน มนุษยธรรม (AHA Center) ขึ้นที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกกับองค์กรระหว่างประเทศที่เป็น พันธมิตรของอาเซียนในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ
7. การส่งเสริมและปกป้องสิทธิสตรีแม้ว่าโดยทั่วไปสถานะของสตรีในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้มีความเท่าเทียมกับบุรุษแต่อาเซียนก็ไม่ต่างจากภูมิภาค อื่นๆ ที่มีสตรีจำนวนมากต้องตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง การทำร้ายร่างกายและขบวนการค้าประเวณีในปี 2547 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามแถลงการณ์อาเซียนว่าด้วยการจัดการใช้ความ รุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Declaration on the Elimination of Violence Against Women in the ASEAN Region) ซึ่งแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่ารัฐบาลของประเทศสมาชิกต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อ สตรี
8. การส่งเสริมให้เยาวชนในภูมิภาคมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นอาเซียนเห็นว่าเยาวชน คืออนาคตของอาเซียน และเป็นกำลังสำคัญของการสร้างประชาคมอาเซียน จึงพยายามส่งเสริมให้เยาวชนมีความใกล้ชิดและรู้จักกันมากขึ้น ผ่านความร่วมมือในหลายสาขา มีการจัดค่ายเยาวชนอาเซียนและกิจกรรมสันทนาการอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บางประเทศสมาชิกก็ให้ทุนการศึกษากับนักเรียนจากประเทศอาเซียนอื่นๆ เช่น สิงคโปร์จัดตั้งกองทุนเยาวชนอาเซียนเพื่อให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกัน สำหรับเยาวชนอาเซียนนอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2517 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนโครงการเรือเยาวชนโดยเชิญเยาวชน กว่า 300 คน จากประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่นให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวเป็น ประจำทุกปี เรือเยาวชนจะแวะเทียบที่ท่าเรือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมมิตรภาพในหมู่เยาวชนของเอเชีย

ขอขอบคุณข้อมูลความรู้ดีๆ จาก  Katesarin Yanode  

ประเทศอาเซียน

http://xn--c3cxhf1bd0b2byax8a1je.com/10-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%8710-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5/

ประเทศไทย (Thailand)
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดน
  ทิศเหนือติดกับ ประเทศพม่าและประเทศลาว  โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
  ทิศตะวันออกติด ประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
  ทิศใต้ติด อ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย
  ทิศตะวันตกติด ทะเลอันดามันและประเทศพม่า
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลาง
เดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน
ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย เพราะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม,ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร(His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
นายกรัฐมนตรี คือ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557


 ประเทศต่อไปเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก
 เวียดนาม (Vietnam)  
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม   (Socialist Republic of Vietnam)
ที่ตั้ง : ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ติดกับ อ่าวไทยและทะเลจีนใต้
  ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้
  ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  และ ติดกับราชอาณาจักร กัมพูชา
พื้นที่ : 331,689 ตารางกิโลเมตร (0.645 เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร : เป็น เวียด 80% เขมร 10 % ต่าย, ไท, เหมื่อง,    ฮั้ว(จีน), นุง, ม้ง
ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง
ภูมิประเทศ ประเทศเวียดนามมีลักษณะคล้ายตัว s ขนาดใหญ่ที่ยาวเหยียด โดยกินบริเวณไปตาม ความยาว ของคาบสมุทรอินโดจีน ตลอดแนวพรมแดนมีความยาว 3,730 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ของเวียดนาม ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้
ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom)ในการเขียนภาษาเวียดนาม
ศาสนา : ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70  ที่เหลือนับถือคริสต์, ลัทธิขงจื้อ มุสลิม
สกุลเงิน : ด่อง (Dong : VND)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
* ประมุข-ประธานาธิบดี คือ นายเหงียน มินห์ เจี๊ยต (27 มิถุนายน 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหงียน ถัน ดุง
* เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คือ นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น
การเมือง
การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียวผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership)ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่
1. กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
2. กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolutionอันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
3. กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรกนำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่น
และเปิดกว้างมากขึ้น

ประเทศที่อยากจะบอกว่าเป็นประทศเล็กพริกขี้หนู คือ...

สิงคโปร์ (Singapore)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร(ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร
และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ประชากร : ชาวจีน 76.5% ชาวมาเลย์, ชาวอินเดีย และอื่น ๆ
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ)จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน
ศาสนา : พุทธ, อิสลาม, คริสต์, ฮินดู, ไม่นับถือศาสนา 25%
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
* ประธานาธิบดี คือ นายเอส อาร์ นาธาน (ดำรงตำแหน่งสอง
    สมัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2542)
* นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (12 สิงหาคม 2547)
นโยบาย
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2548 นายลี เซียน ลุงได้แถลงต่อประชาชนในโอกาสวันชาติสิงคโปร์ (National Day Rally Speech) โดยได้ระบุถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยในด้านการต่างประเทศนั้น สิงคโปร์จะให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียน (โดยเฉพาะมาเลเซีย
และอินโดนีเซีย) รวมทั้งกับประเทศมหาอำนาจสำคัญๆ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหภาพยุโรปและออสเตรเลีย นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน และการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย สำหรับนโยบายภายในประเทศ สิงคโปร์จะมุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงของโลก (remake Singapore) โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนวัตกรรม การประกอบการ การวิจัยและการพัฒนา (innovation, enterprise and R&D) สำหรับด้านสังคม จะให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนการดูแลคนชราและผู้ที่มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านบริการเพื่อให้สิงคโปร์มีลักษณะของเมืองที่มีความเป็นสากล

การเปิดกว้างทางสังคม
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้ย้ำในหลายโอกาสว่าประสงค์ที่จะพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นสังคมที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น(a more transparent and open society) โดยจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่านิยมที่เป็นคุณลักษณะ
เฉพาะของประเทศ (อาทิ การเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา) มากกว่าการนำระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยของตะวันตกมาปรับใช้ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองสิงคโปร์เห็นว่าประเด็นเรื่องศาสนาและความแตกต่าง
ทางเชื้อชาติเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนในสังคมสิงคโปร์

ประเทศต่อไปเป็นประเทศที่มีนักมวยชื่อก้องโลกและเป็นนักการเมืองในเวลาเดียวกัน คือ...

ฟิลิปปินส์ (Philippines)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น  7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก  ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับ ทะเลจีนใต้
  ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก
พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)
ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู  ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น
ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา เกือบทั้งหมดเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino)และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลีและภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ
ภาษาตากาล็อก
ศาสนา : ร้อยละ 92 นับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3
สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP)
ระบอบการปกครอง
การเมืองการปกครองฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเอกราชในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 จึงจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดี
เป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ(วาระ ๖ ปี)ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเบนิกโน อาคีโน  รัฐบาลของประธานาธิบดี อาคีโน ที่สาม ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและมีสถานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วนได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านงบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือนและการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นท้าทายต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ และการสร้างพลังประชาคมระหว่างประเทศในทุก
ภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDG) ภายในปี 2558
เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา.และข้าวเจ้าป่าไม้ มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี เหมืองแร่ ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก  โครไมต์ ทองแดง เงิน อุตสาหกรรม ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ   แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์
เศรษฐกิจการค้า
* ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร แต่สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูก มีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน
* ประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่
ประเทศต่อไปก็เป็นประเทศที่เพื่อนบ้านที่มีเขตแดนติดกันมากที่สุดคือ...
พม่า (Myanmar)
ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน
  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับ ทิเบตและจีน
  ทิศตะวันออกติดกับ ลาว
  ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับ ไทย
  ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับ บังคลาเทศและอินเดีย
  ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับ ทะเลอันดามัน     และอ่าวเบงกอล
พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) หรือ เนปีตอ(Nay Pyi Taw)   มีความหมายว่า มหาราชธานี เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลาง  การบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่  วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ประชากร : มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ   8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง   (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2)   อินเดีย (ร้อยละ 2)
ภูมิอากาศ : มีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน
ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาฮินดู
สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)
ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)
* ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ  พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)
* นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง  นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550)
เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉานอยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้งอุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และมะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นต่ำ

ประเทศต่อไปก็เป็นประเทศที่อยู่ติดกับเราทางภาคใต้คือ...

มาเลเซีย (Malaysia)
ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร โดยถูกแบ่งดินแดนสองส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น
1. มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ประกอบด้วย11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประกลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส
2. มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน)มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวักและมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ)และเกาะลาบวน
พื้นที่ : 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ - เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
ประชากร : ชาวมาเลย์กว่า 40% ที่เหลือเป็นชาวจีน เป็นชาวอินเดีย, ชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว ไทยและอื่นๆอีก
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ, คริสต์, ฮินดู
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา  (Parliamentary Democracy)
1) ปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานูปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และปะลิส)และผลัดเปลี่ยนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ 5 ปี
   ประมุของค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อับดุล ฮาลีมมูอัดซัม ชาห์ แห่งรัฐเกดะห์ ขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2 วันนี้ 13 ธ.ค. 2554 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 14 ของมาเลเซีย
2) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ(Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บิน ฮาจิ อาหมัด บาดาวี
การเมือง
    พรรค UMNO มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยมแต่ไม่รุนแรง สนับสนุนชาวมาเลย์ให้มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แนวนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศหลัก ๆ สรุปได้ดังนี้
1. ดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะประเทศตะวันตก
2. พยายามเข้าไปมีบทบาทนำในอาเซียน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม เพื่อเป็นพลังต่อรองกับประเทศตะวันตก ในเวทีระหว่างประเทศ
3. พัฒนาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบของประเทศตะวันตกมีแนวดำเนินการของตนเองและ ให้ความสำคัญต่อเรื่องความมั่นคงภายในประเทศเป็นสำคัญ
เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ มาเลเซียมีนโยบายทางเศรษฐกิจ ดังนี้
1) เปิดรับการค้า การลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตกเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2563(Vision 2020) ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัดตั้งเป้าหมายไว้
2) ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ
3) ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก OIC (รวม 57 ประเทศ) โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธนาคารอิสลาม การศึกษาและการท่องเที่ยว
ประเทศต่อได้เป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้องของเราคือ ...
ลาว (Laos)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว    (The Lao People's Democratic Republic)
เมืองหลวง : นครเวียงจันทน์ (Vientiane) (เป็นเขตเมืองหลวงเหมือนกทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่   อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)
ที่ตั้ง :   ทิศเหนือติดกับ ประเทศจีน (1 กิโลเมตร)
  ทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับ ประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร)
  ทิศใต้ ติดกับ ประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
  ทิศตะวันออก ประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
  ทิศตะวันตก ประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ภูมิศาสตร์ลักษณะภูมิประเทศประเทศลาวตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน
ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย)
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา
สกุลเงิน : กีบ (Kip)
ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม  เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
* ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) คือ พลโท จูมมะลี ไชยะสอน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
สถาบันการเมืองที่สำคัญ
1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
2. สภารัฐมนตรี (สภาแห่งชาติแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
3. สภาแห่งชาติลาว (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)
4. แนวลาวสร้างชาติ
5. องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว (สหพันธ์เยาวชน)  สหพันธ์แม่หญิงลาว (สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว(สหพันธ์กรรมกร)  ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
เศรษฐกิจ 
ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลัก
ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ตลาดหลักทรัพย์
ลาวกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553(10-10-10) เป็นวันเปิดดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ลาว โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินจากประเทศไทย และได้รับความช่วยเหลือจากประเทศเกาหลี เปิดทำการจริงในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554จะมีบริษัทแรกเข้าจดทะเบียนประมาณ 5 บริษัท
การนำเข้าและการส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี
การนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีนเวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค
ประชากร
ประเทศลาวมีประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆ ลายเชื้อชาติซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า"สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ
แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
1. ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก เป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
2. ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ
3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่นชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ชาวลาวเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ
ภาษา
ประเทศลาวใช้ภาษาลาว เป็นภาษาทางการ ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูง ยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังใช้ในราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง
ศาสนา
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ศาสนาอื่นๆเช่น ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก
วัฒนธรรม
1. มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยมาก มีคำกล่าวว่า“มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น” ในด้านดนตรีลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา 
วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น
2. ลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน
3. การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง)
4. อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลักอาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น
ประเทศต่อไปเป็นประเทศที่มีเกาะหมู่ขนาดที่สุดในโลก คือ...
อินโดนีเซีย (Indonesia)
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่บนเส้นทางเชื่อม   ต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียและ   เป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
    มีเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
เมืองสำคัญ ได้แก่ จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม และมีพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ
 ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ คือ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 87   ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ร้อยละ 6 อื่นๆ ได้แก่ศาสนา  คริสต์นิกายแคทอลิก, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ 4
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR)
* ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (ตุลาคม 2547)
ระบบการเมืองการปกครอง   - อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญปี โดยใช้หลักปัญจศีลเป็นหลักในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย
1) การนับถือพระเจ้าองค์เดียว
2) การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม
3) ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย
4) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน และ
5) ความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรสำคัญประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง นิเกิล บ๊อกไซด์ ทอง เงิน และแร่เหล็กนอกจากนี้ มีทรัพยากรป่าไม้ถึงร้อยละ 59 ของพื้นที่ทรัพยากรประมงจำนวนมาก ซึ่งยังไม่ได้รับการสำรวจ
เศรษฐกิจการค้า
   สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหินผลิตภัณฑ์จากไม้ กระดาษ น้ำมันปาล์ม กาแฟ ยาสูบ โกโก้ เครื่องเทศ ยางและผลิตภัณฑ์ ปลาและปลาหมึกแช่เย็นและแช่แข็ง สิ่งทอ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และ
ส่วนประกอบ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์
   สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรเครื่องกล เครื่องพิมพ์ เยื่อกระดาษ ไฮโดรคาร์บอน เรือและอุปกรณ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า แป้งข้าวสาลี ข้าว เป็นต้น
มาทำความรู้จักกับประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกับประเทศของเราคือ
กัมพูชา (Cambodia)ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดน
  ทิศเหนือติดกับไทย และลาว
  ทิศตะวันออกติดเวียดนาม
  ทิศตะวันตกติดประเทศไทย
  ทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่ : 181,035 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากร : ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่นๆ ร้อยละ 2
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย    20 - 36 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาอื่นๆเช่น
   อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทยศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท   (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย)
   ศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
สกุลเงิน : เงินเรียล (Riel : KHR)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์  เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี   เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547
* นายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)
พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา,    พรรคฟุนซินเปค, พรรคสม รังสี, พรรคนโรดม รณฤทธิ์ เพลงชาติ: เพลงนาคราช (Nokoreach)
เศรษฐกิจและสังคม
1. กัมพูชายังเป็นกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากจนประเทศหนึ่ง  ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงให้ความสำคัญอย่างมากต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อมุ่งขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่
ของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทให้ดีขึ้น
2. รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายและประกาศใช้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม(จัตุโกณ) เพื่อการเจริญเติบโต การจ้างงาน ความเสมอภาคและประสิทธิภาพในกัมพูชา ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 15กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โครงสร้างของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม
ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam
    แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียวแบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong
    และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร ส่วนมากเป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวงบันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ (66%) จีน (11%) และอื่น ๆ
ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม รองลงมาคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และฮินดู
สกุลเงินดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND)
ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510
* รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดี  ทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
* สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
* ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่
เศรษฐกิจ
1. บรูไน ฯ มีน้ำมันมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงมีรายได้หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซมีมูลค่ากว่าร้อยละ 90 รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Petroleum Brunei)เพื่อเป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ
2. บรูไนฯ นำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ มาเลเซียโดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวและผลไม้
3. บรูไน ฯ มีอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องมือการผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรปและอเมริกา 
4. บรูไนฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาน้ำมันอย่างเดียวสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน
สังคม
1. บรูไนฯ มีระบบรัฐสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐให้หลักประกันด้านการศึกษา การเคหะและการรักษาพยาบาล และไม่มีการเก็บภาษีเงินได้ ทำให้บรูไนฯ ไม่ค่อยประสบปัญหาทางการเมือง
2. ปัญหาทาาสังคมที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และปัญหาการว่างงาน

การก่อตั้ง
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ
ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่
บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม(วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา(วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ 
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก10 ประเทศ 
สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
 สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและการมีพลวัติ
 สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนการประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัด
ทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม(Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement)หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิกโดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariatเป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

คำขวัญที่ใช้คือ
"One Vision,One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม
อาเซียน +3
 จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้
อาเซียน +6 
 จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ในประชาคมอาเซียน ได้แก่ แพทย์, ทันตแพทย์, นักบัญชี, วิศวกร, พยาบาล, สถาปนิก, นักสำรวจ

ที่มา
สำนักงาน กศน.  http://203.172.142.8/en/index.php?
   option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21

สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ http://www.bic.moe.go.th/ 

ดอกไม้ประจำชาติและชื่อประเทศที่เป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ...
บรูไน 
   ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกซิมปอร์    ชื่อประเทศ : เนการาบรูไนดารุสซาลาม
กัมพูชา หรือ เขมร 
  ดอกไม้ปรจำชาติ ดอกลำดวน   ชื่อประเทศ : เปรียะ เรียเจียนาจักร กัมปุเจีย
อินโดนีเซีย 
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี   ชื่อประเทศ : เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย
ลาว 
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกจำปาลาว (ดอกลีลาวดี)   ชื่อประเทศ : สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
มาเลเซีย 
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกชบา   ชื่อประเทศ : เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
พม่า 
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกประดู่   ชื่อประเทศ : ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
ฟิลิปปินส์ 
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกพุดแก้ว  ชื่อประเทศ : เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส
สิงคโปร์ 
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า   ชื่อประเทศ (ภาษาอังกฤษ) : รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
  ชื่อประเทศ (ภาษาจีน) : ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
เวียดนาม
  ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกบัว  ชื่อประเทศ : ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
ไทย 
  ดอกไม้ปรจำชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์(ดอกคูณ)  ชื่อประเทศ : ราชอาณาจักรไทย
. อาเซียน มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ASEAN ย่อมาจากคำว่า Association of South East Asian Nations 

2. สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รวงข้าว 10 รวง หมายถึง ประเทศ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน

3. บุคคลของไทยที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนในสมัยแรกคือ พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันต์

4. การประชุมประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน (ตามหนังสือแบบเรียน) หรือ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

5. ประเทศสมาชิกในอาเซียน มี 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไรดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา (ตามลำดับของหนังสือแบบเรียน)

6. เพลงประจำว่าอาเซียมีชื่อว่า The ASEAN Way

7. คำขวัญของอาเซียนคือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

8. สีในธงอาเซียน มีความหมายดังนี้

  สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

  สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
8. เลขาธิการสมาคมอาเซียน อยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี
9. AFTA ย่อมาจากคำว่า ASEAN Free Trade Area เรียกว่า เขตการค้าเสรีเอเซียน
10. ประเทศสุดท้ายที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน คือ กัมพูชา
11. เสา 3 หลัก ของประคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วย
  ประชาคมความมั่นคงเอเซียน (ASC)
  ประชาคมเศรษฐกิจเอเซียน (AEC)
  ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมเอเซียน (ASCC)
12. กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่ทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน
13. วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์ที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎหมายกฎกติกา ทำให้อาเซียนมีสถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernment organization)


The ASEAN Way เป็นเพลงที่แต่งโดยคนไทย  คือ นายกิตติคุณ สุดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) นายสำเภา  ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง)

ภาษาอังกฤษ



                  Raise our flag high, sky high.                               Embrace the pride in our heart.

                 ASEAN we are bonded as one.                           Look'in out to the world.

                  For peace our goal from the very start               And prosperity to last.

                 We dare to dream,      We care to share.           Together for ASEAN.

                 We dare to dream,      We care to share            For it's the way of ASEAN.


คำแปล



                  ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า                                         โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง                                 มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
               สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม                           ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
                  เรากล้าฝัน           และใส่ใจต่อการแบ่งปัน           ร่วมกันเพื่ออาเซียน
                  เรากล้าฝัน           และใส่ใจต่อการแบ่งปัน           นี่คือวิถีอาเซียน

เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

 พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด                                        ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ                             วันที่เรามาพบกัน
           อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา               เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
       หล่อหลอมจิตใจ          ให้เป็นหนึ่งเดียว               อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
       ให้สังคมนี้                     มีแต่แบ่งปัน                     เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล
















แบบ กผ. กพล.03/56
รายละเอียดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปี 2556
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน

1. ชื่อโครงการ  โครงการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น วิชาภาษาตากาล็อก(ฟิลิปปินส์) เพื่อเข้าสู่อาเซียน

2.    ความสอดคล้องกับนโยบาย
นโยบายเร่งด่วน ที่ 5 (5.1, 5.2)

3. หลักการและเหตุผล

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2556 แผนงาน : สร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ผลผลิตที่ 4 เพื่อเป็นค่าขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชน และการจัดการเรียนการสอนภาษาอาเซียน 7 ภาษา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ยกเว้นภาษาอังกฤษ) กลุ่มเป้าหมายละ 25 คน 
ในการนี้ สำนักงาน กศน.จึงได้จัดสรรเงินงบประมาณให้ กศน.เขต เพื่อให้การดำเนินงานจัดการเรียนการสอนภาษาอาเซียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีเอกภาพ ดังนั้น กศน.เขตบางบอนจึงจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น วิชาภาษาตากาล็อก(ฟิลิปปินส์) เพื่อเข้าสู่อาเซียนขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาให้กับสมาชิกกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, นักเรียน, นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เพื่อเตรียมการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4.  วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในด้านภาษาอาเซียน
3.2 เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ
3.3 เพื่อพัฒนาศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งด้านภาษาอาเซียนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
5. เป้าหมาย        สมาชิกกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, นักเรียน, นักศึกษาและประชาชนทั่วไปจำนวน  25  คน
          เชิงปริมาณ  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในความรู้ที่ได้รับ
          เชิงคุณภาพ  ผู้เข้าร่วมโครงการผ่านกระบวนการอบรมตามหลักสูตร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

6.      วิธีดำเนินงาน
กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
1. ฝึกอบรมให้ความรู้ ภาษาตากาล็อก(ฟิลิปปินส์)
1.     เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในด้านภาษาอาเซียน
2.    เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน    ปี 2558 ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ
3.    เพื่อพัฒนาศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งด้านภาษาอาเซียนให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
สมาชิกกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, นักเรียน, นักศึกษาและประชาชนทั่วไป 
สมาชิกกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, นักเรียน, นักศึกษาและประชาชนทั่วไปจำนวน  25  คน
ที่ทำการของชุมชนบ้านมั่นคงวิมานทอง  แขวงบางบอน   เขตบางบอน    กรุงเทพ
มิ.ย.–ก.ค.56
(ไตรมาส3-4)

10,000
2. จัดมุมอาเซียน
1.     เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียน
นักเรียน, นักศึกษาและประชาชนทั่วไป 
นักเรียน, นักศึกษาและประชาชนทั่วไป 
อาคารศูนย์การเรียนชุมชนธนกร กศน.แขวง/เขตบางบอน กรุงเทพ
มิ.ย.56
(ไตรมาส3)

10,000
7.      วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ
 แผนงบประมาณปี 2556
-                   ค่าตอบแทนวิทยากร  40 ชม. X 200 X 1 คน                         =        8,000  บาท
-                   ค่าวัสดุประกอบการเรียนการสอน                                      =         2,000 บาท
-                   ค่าวัสดุเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้อาเซียน                                  =        10,000  บาท
                                                    รวมทั้งสิ้น             20,000 บาท
หมายเหตุ   ทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายตามความเป็นจริง
8.      แผนการใช้จ่ายงบประมาณจากงบอุดหนุนทั่วไป

กิจกรรมหลัก
ไตรมาส 1
(ต.ค.-ธ.ค. 54)
ไตรมาส 2
(ม.ค.-มี.ค. 55)
ไตรมาส 3
(เม.ย.-มิ.ย. 55)
ไตรมาส 4
(ก.ค.-ก.ย. 55)
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น วิชาภาษาตากาล็อก(ฟิลิปปินส์) เพื่อเข้าสู่อาเซียน
-
-
20,000

9.      ผู้รับผิดชอบโครงการ
          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน
10.   เครือข่าย
1.     ผู้บริหาร, ข้าราชการ, คณะครู กศน.เขตบางบอน
2.    นักศึกษา กศน.เขตบางบอน
3.    นักเรียนโรงเรียนวัดนินสุขาราม
4.    ประธาน และกรรมการชุมชนในเขตบางบอน
11.    โครงการที่เกี่ยวข้อง
-
12.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.        ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในด้านภาษาอาเซียน
2.        ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
3.       ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งด้านภาษาอาเซียน
13. ดัชนีวัดผลสำเร็จของโครงการ
1.       ตัวชี้วัดผลผลิต
1.       การส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในด้านภาษาอาเซียน ให้กับประชาชน
2.      การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ให้กับประชาชน
3.      การพัฒนาศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งด้านภาษาอาเซียน ให้กับประชาชน
2.      ตัวชี้วัดผลลัพธ์
1.     ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในภาษาอาเซียน
2.    ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบอกถึงเหตุผลของการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
3.    ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ทางภาษาอาเซียนเบื้องต้น
14.   การติดตามประเมินผลโครงการ
1.     แบบสอบถาม/แบบประเมินความพึงพอใจ
2.    สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
3.    ติดตามหลังจบโครงการ

ภาษาพม่าเบื้องต้น
จำนวน 40 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
ภาษาพม่า เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาไทย คือมีทั้งหมด 4 เสียงด้วยกัน ซึ่งวรรณยุกต์เหล่านี้ ล้วนดัดแปลงมาจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง ซึ่งถ้าเทียบกับวรรณยุกต์ไทยแล้ว มีเพียงเสียง สามัญ เอก ตรี และเอกแบบคำตายเท่านั้น ส่วนตัวอักษรก็มีลักษณะคล้ายภาษาไทยตรงจุดที่ จะมีตัวอักษรเฉพาะคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ตัวอักษร ศ ษ ส ของไทย เป็นต้น    สำหรับตัวอักษรในพม่ามีทั้งหมด 33 ตัว สระจำนวน 23 ตัว โดยแบ่งเป็นสระลอย (สระที่ไม่ต้องนำไปประกอบกับพยัญชนะก็ออกเสียงได้) 11 ตัว และสระจม (สระที่ต้องนำไปประกอบกับพยัญชนะถึงออกเสียงได้) 12 ตัว ส่วนการจัดรูปประโยคของพม่า จะต่างจากไทยคือ อยู่ในรูป ประธาน กรรม กริยา แล้วการพูดลงท้ายคำคุณศัพท์หรือกริยา จะต้องลงท้ายด้วย เด่ หรือ เต่เสมอ แล้วแต่สถานการณ์ว่าจะต้องใช้คำใด และด้วยเหตุที่ในประเทศไทยเรามีชาวพม่าเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ในชีวิตประจำวันของเราอาจจะต้องพบปะกับชาวพม่าเหล่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ และสามารถทำการสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงควรมีการศึกษาภาษาพม่าเบื้องต้น โดยเฉพาะเรื่องของการพูด และฟัง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั่นเอง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาพม่าเบื้องต้นได้ถูกต้อง
ขอบข่ายเนื้อหา
1.       ระบบเสียงและภาษาเขียน
1.1.             ตัวอักษรพม่า
1.2.             พยัญชนะ
1.3.             สระ
1.4.             วรรณยุกต์
1.5.             คำศัพท์ต่างๆ
1.6.             สำนวนต่างๆที่ควรรู้
2.       การใช้ภาษาในการสื่อสาร
2.1.             การทักทาย และการกล่าวลา
2.2.             การแนะนำตนเอง และผู้อื่น
2.3.             การเสนอให้ความช่วยเหลือ
2.4.             การถามชื่อ ที่อยู่
2.5.             การให้ และขอข้อมูลส่วนบุคคล
2.6.             การพูดโทรศัพท์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.       ฝึกทักษะการฟัง, พูด, อ่าน, เขียน คำและประโยคต่างๆ
2.       ฝึกการใช้ประโยคง่ายๆ ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
3.       บทบาทสมมติ
สื่อการเรียนรู้
1.       หนังสือเสริมความรู้
2.       บัตรคำ
3.       แผ่นภาพ
4.       แบบฝึกหัด
การวัดและประเมินผล
1.       แบบทดสอบ
2.       สังเกตจากการฝึกทักษะการฟัง, พูด, อ่าน, เขียน
3.       ผลการฝึกปฏิบัติ


หลักสูตรวิชาภาษาพม่าเบื้องต้น  จำนวน 40 ชั่วโม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน
รายวิชา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
รวม
ภาษาพม่าเบื้องต้น
-มุ่งให้มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจตลอดจน การเกิดทักษะด้านภาษาพม่าเบื้องต้น แก่กลุ่มสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
-เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะ และพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันในอนาคตได้
-เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
1.    ระบบเสียงและภาษาเขียน
1.1.   ตัวอักษรพม่า
1.2.   พยัญชนะ
1.3.   สระ
1.4.   วรรณยุกต์
1.5.   คำศัพท์ต่างๆ
1.6.   สำนวนต่างๆที่ควรรู้
2.    การใช้ภาษาในการสื่อสาร
2.1.   การทักทาย และการกล่าวลา
2.2.   การแนะนำตนเอง และผู้อื่น
2.3.   การเสนอให้ความช่วยเหลือ
2.4.   การถามชื่อ ที่อยู่
2.5.   การให้ และขอข้อมูลส่วนบุคคล
การพูดโทรศัพท์
27
13
40




การสื่อสารภาษาเขมรเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่อาเซียน
จำนวน ๔๐ ชั่วโมง   ๑  หน่วยกิต
ความเป็นมา
              การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ.๒๐๑๕) ของประเทศไทย จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนวิถีชีวิต  การพัฒนาคนไทยให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาความสามารถด้านภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และความเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อันเป็นการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนคนไทยมีศักยภาพ พร้อมที่จะเป็นประชาชนอาเซียนที่สามารถแข่งขันและอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการสื่อสารภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน
              ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอนตระหนักถึงความสำคัญในข้างต้น ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน จึงได้นำหลักสูตรการสื่อสารภาษาเขมรเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่อาเซียน  เพื่อยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาเขมร โดยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานการสื่อสารภาษาเขมรในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพในเวทีสากลต่อไป
หลักการของหลักสูตร
    ๑. เป็นหลักสูตรเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นในชีวิตประจำวันให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคคล
    ๒. เป็นการเพิ่มทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
    ๓. การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการใช้ภาษาเขมรในสถานการณ์จริง
 จุดมุ่งหมาย
๑.     เข้าใจความหมายของศัพท์ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และข้อมูลพื้นฐานทั่วไปในการสื่อสารภาษาเขมร
๒.     รู้และเข้าใจใน พยัญชนะ สระ ตัวเลข การออกเสียง และศิลปวัฒนธรรมในภาษาเขมร
๓.     ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาเขมรในชีวิตประจำวันอย่างง่ายได้อย่างถูกต้อง
เป้าหมาย
๑.     นักศึกษา กศน.
๒.     ปรระชาชนทั่วไปที่สนใจ
 ระยะเวลา
        จำนวน  ๔๐  ชั่วมง
 โครงสร้างหลักสูตร
         ศัพท์  สำนวน ประโยค ได้แก่
๑.     การฟัง – พูดภาษาเขมรเบื้องต้น
๑.๑ การฟังคำศัพท์จากเพลง
๑.๒ การพูดทักทาย  การแนะนำตนเองและการกล่าวลา
๑.๓ การบอกลำดับเครือญาติ
๑.๔ การบอกชื่อส่วนประกอบของร่างกาย
๑.๕ ตัวเลขและการออกเสียง
     - การประกอบตัวเลขให้เป็นจำนวน
     - สกุลเงินที่ใช้ในประเทศกัมพูชา
๑.๖ การบอกเวลา
๑.๗ การสอบถามเส้นทาง และสถานที่ท่องเที่ยว
๑.๘ การซื้อขายอาหารและเครื่องแต่งกาย
๑.๙ การต่อรองราคาสินค้า
      ๒. การอ่านเพื่อการเรียนรู้
          ๒.๑  การอ่านป้ายโฆษณาสินค้า
                     ๒.๒ การอ่านป้ายจราจร
                     ๒.๓ การอ่านป้ายบอกสถานที่
   ๓. การอ่าน – เขียนอักษรเขมรขั้นพื้นฐาน
    ๓.๑ การอ่าน – เขียนพยัญชนะ
    ๓.๒ การอ่าน – เขียนสระ
    ๓.๓ การถอดอักษรเขมรเทียบอักษรไทย
    ๓.๔ การประสมคำเบื้องต้น
๔. ศิลปวัฒนธรรม
   ๔.๑ การแต่งกาย
   ๔.๒ อาหารการกิน
   ๔.๓ วิถีการดำเนินชีวิต
การจัดกระบวนการเรียนรู้
         ๑. ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน คำศัพท์ พยัญชนะ สระ สำนวน ตัวเลขและประโยคพื้นฐานทั่วไปในภาษาเขมร
           ๒. ฝึกใช้ภาษาเขมรเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ตามสถานการณ์จริง สถานการณ์จำลอง หรือการแสดงบทบาทสมมุติ
            ๓. ฝึกใช้ภาษาเขมรกับกิจกรรมนันทนาการ
 สื่อการเรียนรู้
            ๑. บัตรคำ   สื่อการ์ตูน   หนังสือ
            ๒. วีดีทัศน์
            ๓. สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อบุคคล  สื่ออิเล็กทรอนิกส์
            ๔. แหล่งเรียนรู้
การวัดและประเมินผล
๑.     สังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้
๒.     แบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
๓.     ฝึกปฏิบัติโดยการพูดแสดงบทบาทสมมุติ
การจบหลักสูตร
๑.     ผู้เรียนมีเวลาเรียนมาน้อยกว่า ร้อยละ ๘๐
๒.     ผู้เรียนมีผลประเมินตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐
๓.     ผู้เรียนผ่านการฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
    เอกสารหลักฐานการศึกษา
            ๑. หลักฐานการประเมินผล
             ๒. ทะเบียนคุณวุฒิบัตร
             ๓.วุฒิบัตรการศึกษาออกโดยสถานศึกษา
 การเทียบโอน
           ผู้เรียนที่จบหลักสูตรการสื่อสารภาษาเขมรเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่อาเซียนสามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้สู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในรายวิชาเลือก สาระความรู้พื้นฐาน วิชาภาษาต่างประเทศ ที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น

  ๖.  โครงสร้างหลักสูตรภาษาเขมรเบื้องต้น

เรื่อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
๑.พยัญชนะและสระ
เพื่อให้ผู้รับการฝึกรู้จักพยัญชนะ และสระภาษาเขมร การผสมพยัญชนะและสระ และ
การออกเสียงให้ถูกต้อง
พยัญชนะและสระ การผสมพยัญชนะและสระและการออก
เสียงที่ถูกต้อง
๑.ศึกษาพยัญชนะ สระภาษาเขมร ที่ออกเสียงตรงกับภาษาไทย
๒.ฝึกการผสมพยัญชนะ สระ ภาษาเขมร ฝึกการออกเสียง คำ สำนวน และประโยคภาษาเขมรให้ถูกต้อง
    ๑
   ๓
๒.การทักทาย การแนะนำตนเอง   กล่าวคำลา ขอบคุณ  ขอโทษ
เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถกล่าวคำทักทาย แนะนำตัวเอง กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง
การทักทาย การแนะนำตนเอง กล่าวคำลา ขอบคุณ ขอโทษ
ได้ถูกต้อง
๑.ศึกษาคำศัพท์และสำนวนพื้นฐานเกี่ยวกับ คำทักทาย แนะนำตัวเอง กล่าวคำอำลา ขอบคุณ ขอโทษ อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการตามวัฒนธรรม
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่ายเกี่ยวกับ คำทักทาย แนะนำตัวเอง กล่าวคำอำลา ขอบคุณ ขอโทษ อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการตามวัฒนธรรม
  
เรื่อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
๓.การบอกเวลา การนับตัวเลข การถามวัน เดือน ปี เวลาเริ่มงาน เวลาเลิกงาน
เวลาเปิด- ปิดหน่วยงานหรือบริษัทห้างร้าน และหมายเลขโทรศัพท์
เพื่อให้ผู้รับการฝึกรู้จักคำศัพท์สำนวนพื้นฐานเกี่ยวกับเวลา ตัวเลข วัน เดือน ปี
เพื่อให้รู้จักถามตอบเกี่ยวกับวัน เดือน ปี เวลา เวลาเริ่มงาน เลิกงาน และเวลาเปิด- ปิดของหน่วยงานหรือบริษัทห้างร้านได้และหมายเลขโทรศัพท์
การบอกเวลา การนับตัวเลข การถามวัน เดือน ปี เวลาเริ่มงาน  เวลาเลิกงาน เวลาเปิด ปิดหน่วยงานหรือบริษัทห้างร้าน และหมายเลขโทรศัพท์
๑.ศึกษาคำศัพท์ ตัวเลข 1-100  วัน เดือน ปี  สำนวนเกี่ยวกับการถามเวลาและการบอกเวลา การถามวัน เดือน ปี เวลาเริ่มงาน เวลาเปิด-ปิด ของหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่ายเกี่ยวกับเวลา ตัวเลข วัน เดือน ปีเพื่อให้รู้จักถามตอบ
เกี่ยวกับวัน เดือน ปี เวลา เวลาเริ่มงาน เลิกงาน และเวลาเปิด-ปิดของหน่วยงานหรือบริษัทห้างร้านได้และหมายเลขโทรศัพท์
    ๑
   ๓
๔.การบอกทิศทางและการถามทาง
เพื่อให้ผู้รับการฝึกรู้จักคำศัพท์สำนวน โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการบอกทิศทาง การถามทาง และสามารถบอกที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ และถามที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการทราบได้
การบอกทิศทางและการถามทาง
๑.ศึกษาคำศัพท์ สำนวนโครงสร้าง เกี่ยวกับสถานที่ ทิศทาง สำนวนบอกที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่ายเกี่ยวกับสถานที่ ทิศทาง สำนวนบอกที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ
    ๑
   ๓
  
เรื่อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
๕.อาหาร การสั่งอาหารและเครื่องดื่ม การซื้อของในชีวิตประจำวัน
๑.เพื่อให้ผู้รับการฝึกเรียนรู้คำศัพท์ สำนวนเกี่ยวกับอาหาร การสั่งอาหารและเครื่องดื่ม
๒.เพื่อให้สามารถสั่งอาหารและเครื่องดื่มได้คำศัพท์เกี่ยวกับเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้สามารถซื้อของได้
อาหาร การสั่งอาหารและเครื่องดื่ม การซื้อของในชีวิตประจำวัน
๑.ศึกษาคำศัพท์เกี่ยวกับ ผลไม้และเครื่องดื่ม สำนวนเกี่ยวกับการสั่งอาหารและเครื่องดื่ม
ประเภทของอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่าย  ผลไม้และเครื่องดื่ม สำนวนเกี่ยวกับการสั่งอาหารและเครื่องดื่มประเภทของอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ
    ๑
   ๓
๖.การถามความต้องการของผู้อื่นและการขอความช่วยเหลือ
เพื่อให้ผู้รับการฝึกรู้จักคำศัพท์สำนวน เพื่อสามารถถามถึความต้องการของผู้อื่นและการขอความช่วยเหลือ
การถามความต้องการของผู้อื่นและการขอความช่วยเหลือ
๑.ศึกษาคำศัพท์ สำนวนเกี่ยวกับความช่วยเหลือ ความต้องการ
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่ายเกี่ยวกับการถามถึงความช่วยเหลือ ความต้องการ
    ๑
   ๓
๗.ความรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความเจ็บป่วย โรงพยาบาล
เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถอธิบายเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐานได้
ความรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความเจ็บป่วย โรงพยาบาล
๑.ศึกษาคำศัพท์และสำนวนพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกายและอาการเจ็บป่วย
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่ายเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกายและอาการเจ็บป`วย
    ๑
   ๓

เรื่อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
๘.การถามเกี่ยวกับสภาพอากาศ ฤดูกาล และการระวังภัย
เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถถามและตอบเกี่ยวกับสภาพอากาศ ฤดูกาล และระวังภัยขั้นพื้นฐานได้
การถามเกี่ยวกับสภาพอากาศ ฤดูกาล และการระวังภัย
๑.ศึกษาคำศัพท์และสำนวนพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพอากาศ ฤดูกาล และภัยธรรมชาติ
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่ายเกี่ยวกับสภาพอากาศ ฤดูกาล และภัยธรรมชาติ
    ๑
   ๓
๙.การถามถึงที่อยู่ ที่ทำงาน
เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถถามและตอบเกี่ยวกับที่อยู่และที่ทำงานขั้นพื้นฐานได้
การถามถึงที่อยู่ ที่ทำงาน
๑.ศึกษาคำศัพท์และสำนวนพื้นฐานเกี่ยวกับประเภทของที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงาน
๒.ฝึกสนทนาด้วยประโยค สั้น ง่ายเกี่ยวกับประเภทของที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงาน
    ๑
   ๓
๑๐.ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของประเทศกัมพูชา
เพื่อให้ผู้รับการฝึกทราบถึงสภาพทั่วไปของความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม
ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ ของประเทศกัมพูชา
ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของประเทศกัมพูชา
๑.ศึกษาสภาพแวดล้อมของต่างประเทศ ภาษาท้องถิ่น และสามารถปรับใช้ในขณะทำงานในประเทศกัมพูชา หรือประสานงานกับชาวกัมพูชา
    ๓
   ๑
รวม
    ๑๒
   ๒๘


หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ภาษาอังกฤษเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่อาเซียน  40 ชั่วโม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตบางบอน
รายวิชา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
รวม
ภาษาอังกฤษเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่อาเซียน
-มุ่งให้มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจตลอดจน การเกิดทักษะด้านภาษาอังกฤษเบื้องต้น แก่กลุ่มสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และประชาชนทั่วไป
-เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะ และพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันในอนาคตได้
-เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
1 Noun
2 Pronoun
3  Adjectives
4.Comparison
5. Preposition
6.Verb Forms
7.Sentence Construction
8.Question Tag
9.Conversation for Asian

27
13
40



ไม่มีความคิดเห็น:

<marquee direction="left">สมัครเรียน กับ ศกร.ดีสมบุญ</marquee>

เปิดรับสมัครเรียนแล้วค่ะ ศูนย์การเรียนดีสมบุญ กศน.เขตบางบอน เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565   ระดับชั้น ประถมศึกษา,...